วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ญี่ปุ่นแจ้งเกิดหุ่นยนต์ทนฝน เล็งเทียบชั้นคนงานก่อสร้าง

Japanese humanoid happy to work on in the rain

คนงานก่อสร้างเตรียมทำใจตกงาน เมื่อบริษัทผู้ผลิตหุ่นยนต์สัญชาติญี่ปุ่นโชว์ตัวหุ่นยนต์รุ่นใหม่ที่สามารถทำงานได้กลางสายฝน ระบุด้วยว่าอีก 3 ปีข้างหน้าอาจจะสามารถวางจำหน่ายให้กับบริษัทรับเหมาก่อสร้าง ถือเป็นการยกระดับความสามารถในการทำงานของหุ่นยนต์ให้ใกล้เคียงมนุษย์ได้อย่างน่าจับตามองหุ่นยนต์ทนฝนนี้มีนามว่า HRP-3 Promet Mk-II ผลงานการพัฒนาของบริษัทคาวาดะอินดัสทรีส์ (Kawada Industries) เป็นหุ่นยนต์เสมือนมนุษย์ลำตัวสีขาวความสูง 160 เซนติเมตร (5 ฟุต 10 นิ้ว) น้ำหนัก 68 กิโลกรัมหรือประมาณ 149 ปอนด์ (รวมแบตเตอรี่) ใบหน้าสวมแว่นกันแสงอาทิตย์ บริเวณมือสามารถเกาะยึดและสามารถสร้างสมดุลย์ลำตัวขณะเคลื่อนที่โดยการถ่วงน้ำหนักช่วงแขนเช่นเดียวกับมนุษย์ นอกจากจะสามารถทำงานท่ามกลางสายฝน HRP-3 Promet Mk-II ยังสามารถเคลื่อนที่บนเส้นทางที่เต็มไปด้วยทราย กรวด หรือเจิงนองด้วยโคลนลื่น งานนี้คาวาดะฯสาธิตการทำงานของ HRP-3 Promet Mk-II แก่สื่อมวลชนโดยจำลองสภาพอากาศฝนตก พร้อมให้หุ่นยนต์เดินบนพื้นห้องที่โรยด้วยทราย ซึ่งหุ่นยนต์ก็สามารถทำงานได้ตามปกติคาวาดะฯอธิบายถึงแนวคิดการพัฒนาหุ่นยนต์ตัวนี้ว่า ต้องการพัฒนาหุ่นยนต์เสมือนมนุษย์ที่สามารถทำงานในสภาพแวดล้อมแท้จริงทุกสภาพอากาศ ซึ่งจะถือเป็นจุดเด่นที่ช่วยสร้างความต่างให้กับคาวาดะฯ"เราต้องการนำหน้าคู่แข่งด้วยการสร้างหุ่นยนต์เสมือนมนุษย์ที่ทำงานได้ในสภาพแวดล้อมจริง" ตัวแทนบริษัทคาวาดะฯกล่าวแถลงการณ์ร่วมกับบริษัทคาวาซากิ เฮฟวี อินดัสทรีส์ (Kawasaki Heavy Industries) และสถาบันเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์อุตสาหกรรมชั้นสูงนานาชาติหรือ National Institute of Advanced Industrial Science and Technology เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา"ประเทศญี่ปุ่นนั้นมีปัญหาเรื่องประชากร ปัญหานี้จึงเป็นปัจจัยผลักดันให้เกิดการพัฒนาหุ่นยนต์ที่สามารถปฏิบัติงานแทนมนุษย์อย่างจริงจัง" คาวาดะฯแถลง โดยระบุว่าจะเป็นผลดี หากมีการพัฒนาหุ่นยนต์ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับหน้าที่การงานซึ่งมนุษย์เท่านั้นที่ทำได้ "หากหุ่นยนต์สามารถทำงานแทนมนุษย์ได้ เชื่อว่าต้นทุนสังคมจะสามารถลดลงได้ในระดับหนึ่ง"ทากาคัตสึ ไอสุซุมิ (Takakatsu Isozumi) ผู้จัดการโครงการบริษัทคาวาดะฯ เปิดเผยถึงแผนการทำตลาด HRP-3 Promet Mk-II ว่ามีกลุ่มเป้าหมายหลักเป็นกลุ่มผู้รับเหมาก่อสร้าง คาดว่าจะสามารถจำหน่ายได้จริงในช่วงปี 2010 หรือ 3 ปีนับจากนี้ สนนราคาพนักงานก่อสร้างไฮเทคคาดว่าจะอยู่ที่ 15 ล้านเยนต่อตัว (ประมาณ 3.88 ล้านบาท)"เราวางแผนว่าจะเพิ่มความสามารถให้หุ่นยนต์สามารถทำงานในสายงานก่อสร้างได้ อย่างเช่นความสามารถในการขับรถผสมปูนหรือรถอื่นๆที่ใช้ในงานก่อสร้าง"ประเทศญี่ปุ่นนั้นเป็นประเทศชั้นนำในอุตสาหกรรมหุ่นยนต์มานานหลายปีทั้งในด้านการพัฒนา การผลิต และการนำไปใช้งานจริง ไม่ว่าะเป็นหุ่นยนต์เพื่อความบันเทิง หุ่นยนต์ทุ่นแรง หรือหุ่นยนต์เพื่อการรักษาความปลอดภัย ล่าสุดเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา บริษัทยักษ์ใหญ่สัญชาติญี่ปุ่นอย่างมิตซูบิชิ เฮฟวี อินดัสทรีส์ (Mitsubishi Heavy Industries) ประกาศให้บริการเช่าหุ่นยนต์ฝ่ายต้อนรับแก่โรงพยาบาลแล้ว เพื่อทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์และให้ข้อมูล รวมถึงการดูแลรักษาความปลอดภัยในโรงพยาบาล




ญี่ปุ่นโชว์"หุ่นยนต์โทรศัพท์"

เคดีดีไอ (KDDI) โอเปอเรเตอร์รายใหญ่ของญี่ปุ่นเปิดตัวหุ่นยนต์ต้นแบบที่ผู้ใช้สามารถวาง โทรศัพท์มือถือไว้ภายในหุ่น เพื่อให้หุ่นทำหน้าที่เป็นทั้งนักโภชนาการและเพื่อนส่วนตัวได้ หลักการทำงานคือการนำข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ในเครื่องโทรศัพท์ มาประมวลผลเป็นคำแนะนำในด้านต่างๆเช่น การดูแลสุขภาพ หรือการผ่อนคลายด้วยการเล่นเพลงโปรด หุ่นยนต์โทรศัพท์นี้เป็นผลงานความร่วมมือระหว่างเคดีดีไอและบริษัท ฟลาวเวอร์โรโบติกส์ (Flower Robotics) ใช้ชื่อเรียกว่า iida Polaris มีลักษณะคล้ายแท่นวางโทรศัพท์มือถือทรงกระบอกปลายมนที่สามารถเคลื่อนที่ได้ ภายในมีแท่นวางโทรศัพท์มือถือทรงบาร์หน้าจอทัชสกรีน ที่จะเป็นแหล่งประมวลของเลขาส่วนตัวรุ่นจิ๋วนี้ ลักษณะ ภายนอกของ Polaris นั้นชวนให้นึกถึงเครื่องเล่นเพลง MP3 ดิ้นได้ของโซนี่นาม Sony Rolly แต่การทำงานนั้นไม่ใช่ Polaris สามารถตรวจสอบข้อมูลสุขภาพ, ประมวลผลข้อมูลการลดความอ้วนของเจ้าของ และบันทึกข้อมูลกิจกรรมระหว่างวันของเจ้าของเครื่องได้ เรียกว่าครบเครื่องเรื่องนักโภชนาการ นอกจากข้อมูลโภชนาการ Polaris ยังสามารถอัปเดทข่าวธุรกิจ พยากรณ์อากาศ หรืออาจใช้เป็นรีโมทคอนโทร์ลทีวีที่บ้านได้ด้วย ทั้งหมดเป็นเพียงต้นแบบเท่านั้น เคดีดีไอระบุว่ายังไม่มีแผนผลิตจริงในขณะนี้ ด้านล่างคือวิดีโอหลักการทำงานของ Polarisนาม Hideo Kambara เป็นโทรศัพท์มือถือสไลด์ที่มองเผินๆเหมือนแฟ้มเอกสารต่างสีวางซ้อนกัน โดยแต่ละชั้นจะมีปุ่มที่สามารถกดเพื่อเปิดฟังก์ชันการทำงานหลากหลายของ เครื่องได้ ปุ่มดีไซน์เก๋นี้เรียกว่า “Tab-Key” มาพร้อมหน้าจอสีขนาด 3 นิ้ว กล้อง 3 ล้านพิกเซลโฟกัสอัตโนมัติ มีระบบจับภาพใบหน้า ขนาดตัวเครื่อง 102×53×14.5 มม. น้ำหนัก 127 กรัม ขณะที่รุ่น Prismoid เป็นโทรศัพท์ฝาพับหน้าจอ 2.7 นิ้ว มีหน้าจอขนาดจิ๋วอยู่ด้านข้างเพื่อบอกวันที่และเวลา รองรับเทคโนโลยี GPS กล้องดิจิตอล 2 ล้านพิกเซล มีช่องสำหรับเสียบ MicroSD และ MicroSDHC Card ข้อมูลจาก CrunchGear ระบุว่าผู้ร่วมพัฒนา Polaris อย่าง Flower Robotics นั้นเป็นเจ้าของเทคโนโลยีหุ่นยนต์ Palette หรือหุ่นยนต์แบบแสดงเสื้อที่สามารถเปลี่ยนท่าทางได้อัตโนมัติ รายงานระบุว่าทั้งสองรุ่นจะเริ่มชิมลางในญี่ปุ่นปลายเดือนกันยายนนี้ ไม่เปิดเผยราคาจำหน่ายแต่อย่างใด


เทศกาล “Japan Culture and Hyper Culture” ในกรุงวอชิงตัน

เทศกาล “Japan Culture and Hyper Culture” จะจัดขึ้นที่ศูนย์ประชุมเคนเนดี้ ในกรุงวอชิงตัน งานนี้มีระยะเวลาจัดแสดง 2 สัปดาห์และ มีการแสดงศิลปวัฒนธรรมและเทคโนโลยีของญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็น การฉายภาพยนตร์ญี่ปุ่น การแสดงดนตรี แฟชั่น สถาปัตยกรรม รวมทั้งความสำเร็จทางเทคโนโลยีไฮเทค อย่างหุ่นยนต์ญี่ปุ่นด้วย
หุ่นยนต์ในจิตนาการของภาพยนตร์ฮอลลิวู้ดนั้น เป็นหุ่นยนต์ที่คิดเองได้ไปแล้ว แต่สำหรับหุ่นยนต์จริงๆของญี่ปุ่นในปัจจุบันนี้ ถูกตั้งโปรแกรมให้เป็นผู้ช่วยอำนวยความสะดวกให้ชีวิตมนุษย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้พิการหรือคนชรา คุณอลิเซีย โจนส์ จากบริษัทอเมริกัน ฮอนด้า มอร์เตอร์ บอกว่า เป้าหมายการสร้างหุ่นยนต์แบบฮิวแมนนอยส์ หรือ หุ่นยนต์เลียนแบบมนุษย์ อย่างหุ่นยนต์อะซิโม่ ก็คือ เพื่อให้เป็นหุ่นยนต์ประจำบ้าน ที่สามารถช่วยเหลือคนแก่ หรือคนป่วย หรือคนที่ต้องนั่งรถเข็นได้ หุ่นยนต์อะซิโม่ ซึ่งสร้างโดยบริษัทผลิตรถยนต์ประเทศญี่ปุ่นสามารถวิ่ง เดินขึ้นบันได หรือแม้แต่เต้นรำได้ นอกจากนี้คุณโจนส์ยังบอกว่า หุ่นยนต์อะซิโม่ยังมีอนาคตอีกไกล
คุณโจนส์บอกว่า หุ่นยนต์อะซิโม่ใช้เทคโนโลยีที่สามารถจำคนและจำเสียงได้ ซึ่งถ้าในอนาคตอะซิโม่ได้เป็นหุ่นยนต์ประจำบ้าน เจ้าของก็สามารถตั้งโปรแกรมให้จำเสียงเจ้าของได้ และอะซิโม่ก็สา มารถปฏิบัติตามคำสั่งได้ด้วย
ตอนนี้หุ่นยนต์อะซิโม่ยังไม่ได้ออกวางตลาด แม้ว่าจะมีจำนวนมากขึ้นแล้ว และทางบริษัทฮอนด้าเองก็ยังไม่ได้ตั้งราคาด้วย แต่ก็มีหุ่นยนต์ขนาดเล็กกว่าที่สามารถซื้อมาไว้เป็นหุ่นยนต์ประจำบ้านได้แล้วเหมือนกัน อย่างเช่นหุ่นยนต์ลูกแมวน้ำที่มีชื่อว่า พาโร่
คุณแชนนอน เพอร์คีย์ จากโรบ็อตโทเปีย ไรซิ่ง บอกว่า หุ่นยนต์พาโร่ เป็นหุ่นยนต์เพื่อการบำบัด พาโร่สามารถช่วยบำบัดจิตใจให้เด็กๆ หรือคนป่วยที่ต้องนอนรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลนานๆได้ สำหรับหุ่นยนต์วากามารุ ของบริษัทผลิตรถยนต์มิตซูมิชิ เป็นหุ่นยนต์ทำงานในโรงพยาบาล ซึ่งสามารถนำคนป่วยไปสู่จุดหมายที่ห้องต่างๆได้
แต่ก็ยังมีปัญหาอยู่บ้างเพราะวากามารุ ยังพูดภาษาอังกฤษไม่ได้ นอกจากนี้ยังมีหุ่นยนต์พนักงานต้อนรับที่มีหน้าตาเหมือนมนุษย์อีกด้วย
เมื่อเทคโนโลยีการผลิตหุ่นยนต์ของญี่ปุ่นพัฒนาก้าวไกลไปเรื่อยๆ ไม่แน่ว่าในอนาคตอัน ใกล้นี้ หุ่นยนต์ประจำบ้านอาจจะกลายเป็นเรื่องใกล้ตัวเราเหมือนกับการใช้โทรศัพท์มือถือ ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมแพร่หลายในทุกมุมโลกอย่างในปัจจุบันก็ได้

ญี่ปุ่นระดมสร้างพลเมืองหุ่นยนต์ เป็นครูสอนหนังสือเด็ก

นักเรียนญี่ปุ่นรุ่นต่อไป จะต้องรู้สึกชอบเรียนวิชาคำนวณและวิทยาศาสตร์กันมากขึ้น เพราะจะมีหุ่นยนต์เป็นครูคอยประสิทธิ์ประสาทวิชาให้
หนังสือพิมพ์รายวัน “เดอะ เดลี่ เทเลกราฟ” ของอังกฤษ รายงานว่าญี่ปุ่นมีความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ครั้งสำคัญ เมื่อสร้างหุ่นยนต์ครูสอนหนังสือขึ้นได้ สามารถจะเรียกชื่อ และดุว่านักเรียนได้ โดยขณะนี้กำลังทดลองในโรงเรียนประถมศึกษา ในกรุงโตเกียวแห่งหนึ่งอยู่
หุ่นยนต์ครูมีชื่อว่า “ซายา” พูดได้หลายภาษา เรียกชื่อนักเรียน และสั่งงานให้เด็กทำได้ มีใบหน้าทำด้วยยาง สามารถแสดงสีหน้าได้ต่างๆ ตั้งแต่อาการโกรธเกรี้ยวก็ได้ เนื่อง จากภายในติดตั้งมอเตอร์รวมด้วยกัน 18 เครื่อง ข่าวกล่าวว่า ญี่ปุ่นมีโครงการจะสร้างหุ่นยนต์สำหรับทำงานต่างๆ ตั้งแต่เป็นพนักงาน เลขานุการ เพื่อจะช่วยให้บริษัทห้างร้านต่างๆ ลดค่าใช้จ่ายในการใช้แรงงานลงได้
ศาสตราจารย์ฮิโรชิ โคบายาชิ แห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว เป็นนักประดิษฐ์หุ่นยนต์ที่มีชื่อเสียงคนหนึ่ง ได้สร้างหุ่นยนต์ มานาน 15 ปีแล้ว เป็นผู้สร้างหุ่นยนต์เพื่อใช้งานในชีวิตด้านต่างๆ ในญี่ปุ่น อย่างเช่นหุ่นยนต์ควบคุมการจราจร และกำลังประดิษฐ์หุ่นยนต์เพื่อใช้เป็นผู้คอยดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมอยู่ รัฐบาลชาติอาทิตย์อุทัยตั้งเป้าไว้ว่าภายในปี พ.ศ. 2558 นี้ บ้านในญี่ปุ่นทุกหลัง จะมีหุ่นยนต์คนใช้กันหมด โดยได้ทุ่มงบเกือบ 1,150 ล้านบาท ในการสร้างอุตสาหกรรมหุ่นยนต์อัจฉริยะขึ้น เนื่องจากความห่วงใยว่า ญี่ปุ่นกำลังมียอดพลเมืองที่เป็นผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว อย่างเช่น ภายในเวลา 7 ปีข้างหน้านี้ ชาวญี่ปุ่นใน 4 คน จะเป็นผู้สูงอายุ อายุเกิน 65 ปี เสีย 1 คน.


อ้างอิงจาก http://variety.teenee.com/science/13794.html

Mk สุกี้ เจ๋ง ใช้ หุ่นยนต์รับออเดอร์

ผลงานทีมแชมป์หุ่นยนต์กู้ภัย สนับสนุนโดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ตั้งเป้าบุกตลาดหุ่นยนต์ญี่ปุ่นภายใน 3ปีข้างหน้า
ดร. ศุภชัย หล่อโลหการ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สนช. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า สนช.ได้สนับสนุนงบประมาณจำนวน 1,082,000 บาท ให้กับ บริษัท ซีที เอเชีย โรโบติกส์ จำกัด พัฒนาหุ่นยนต์บริการอัจฉริยะ หุ่นยนต์บริการตัวแรกของไทยที่ผลิตเชิงพาณิชย์ และที่สำคัญพัฒนาจากวิศวกรไทย อดีตนักศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ นำโดย นายอดิศักดิ์ ดวงแก้ว หัวหน้าทีมที่ชนะเลิศจากการแข่งขันหุ่นยนต์กู้ภัยชิงแชมป์โลกในปี 2549 และ2550

โดยหุ่นยนต์ดังกล่าวมีชื่อว่า หุ่นยนต์ซีที (CT) มีคุณสมบัติพิเศษให้บริการรับคำสั่งด้วยเสียงอัตโนมัติ สื่อสารกับมนุษย์ได้ 2 ภาษา คือ ภาษาอังกฤษ กับภาษาไทย เคลื่อนที่ด้วยล้อได้รอบทิศทางในพื้นราบด้วยพลังงานแบตเตอรี่อยู่ได้นาน 3 ชั่วโมง สามารถยกสิ่งของได้ไม่ต่ำกว่า 5 กิโลกรัม เบื้องต้น บริษัท สุกี้เอ็มเค เรสเตอร์รอง จำกัด ได้ติดต่อขอซื้อไปทดลองใช้งานจริงจำนวน 10 ตัวแล้ว รวมมูลค่ากว่า 10 ล้านบาท โดยจะนำไปใช้เป็นหุ่นยนต์บริการต้อนรับและรับคำสั่งอาหารให้กับลูกค้า เพื่อสร้างสีสันให้กับร้าน
ด้าน นายฤทธิ์ ธีระโกเมน ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอ็มเคฯ กล่าวว่า สนใจจะนำหุ่นยนต์ดังกล่าวมาให้บริการเพื่อดึงดูดลูกค้า โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น ทั้งนี้คาดว่าจะสามารถไปติดตั้งตามสาขาต่างๆ ได้ภายในต้นปีหน้า อาทิ ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ อย่างเช่น เซ็นทรัล ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต

ญี่ปุ่นโชว์หุ่นยนต์เสียงทอง HRP-4C

หลังจากนางแบบ แม่บ้าน และพนักงานต้อนรับถูกหุ่นยนต์แย่งงานไปแล้ว ครั้งนี้ถึงคราวนักร้องบ้างที่ต้องหวั่นใจ ล่าสุดญี่ปุ่นนำหุ่นยนต์เด็กสาว “HRP-4C” มาพัฒนาร่วมกับโปรแกรมสร้างนักร้องไซเบอร์ เกิดเป็นหุ่นยนต์นักร้องสาวไซเบอร์ที่สวยทั้งหน้าตาและเสียงร้อง…HRP-4C เป็นหุ่นยนต์เสมือนมนุษย์ที่พัฒนาโดยสถาบัน AIST (National Institute of Advanced Science and Technology) สำหรับโปรแกรมสร้างนักร้องไซบอร์กนั้นมีชื่อว่า “Vocaloid” เป็นผลงานการพัฒนาของยามาฮ่า (Yamaha) ทั้ง 2 เทคโนโลยีถูกเปิดตัวต่อสาธารณชนมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ครั้งนี้คือครั้งแรกที่มีการสาธิตเทคโนโลยีร่วมกัน HRP-4C เป็นหุ่นยนต์เสมือนมนุษย์ที่สามารถสื่อสารด้วยการพูดและแสดงออกทางสีหน้า น้ำหนักเพียง 43 กิโลกรัมเท่านั้น มีความสูง 158 เซนติเมตร หลังจากชาร์จแบตแล้วจะทำงานอยู่ได้ 20 นาที ขณะที่ Vocaloid เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของผู้ผลิตเครื่องดนตรีอย่างยามาฮ่าที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลายตั้งแต่ปี 2006 ในวงการอินเทอร์เน็ต

ญี่ปุ่นเปิดใช้หุ่นยนต์รับแขกในโรงพยาบาล

ติดต่องานคล่องแคล่ว




ขณะนำทางเด็กน้อย






โรงพยาบาลในประเทศญี่ปุ่นเปิดตัวหุ่นยนต์พนักงานต้อนรับตัวใหม่ สามารถแนะนำเส้นทางผู้ป่วยหรือผู้สัญจรไปมาในโรงพยาบาลได้อย่างคล่องแคล่ว ได้รับการการันตีว่าเป็นหุ่นยนต์ต้อนรับสัญชาติญี่ปุ่นตัวแรกที่สามารถปฏิบัติงานได้จริง
หุ่นยนต์ตัวนี้ปฏิบัติหน้าที่อยู่ที่โรงพยาบาลอิซูเซ็นทรัล (Aizu Central Hospital) ในเมืองอิซุ - วาคามัทซึ ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงโตเกียว 200 กิโลเมตร ฝีมือการผลิตโดยบริษัท Tmsuk ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตหุ่นยนต์ของประเทศญี่ปุ่น สนนราคาตัวละ 60 ล้านเยน หรือประมาณ 18.66 ล้านบาท
หุ่นยนต์ตัวนี้จะคอยเอ่ยคำต้อนรับผู้ที่สัญจรไปมาบริเวณทางเข้าโรงพยาบาล และให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับผู้ที่เข้ามาสอบถามรายละเอียดของโรงพยาบาล นอกจากหุ่นยนต์ต้อนรับแล้ว โรงพยาบาลอิซูฯยังมีหุ่นยนต์ส่งของจำนวน 2 ตัวมาร่วมปฏิบัติงานด้วย เป็นหุ่นยนต์ที่สามารถเคลื่อนที่ได้ 2 ล้อด้วยความเร็ว 1.5 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สามารถขนส่งสัมภาระและนำทางผู้ป่วยมายังแผนกงานในโรงพยาบาลที่ถูกต้องได้
หุ่นยนต์เหล่านี้มีความสูง 1.3 เมตรหรือประมาณ 4 ฟุต 4 นิ้ว สีขาวคาดเขียว สามารถรับรู้ว่ามีผู้สัญจรไป มาบริเวณรอบตัวได้ เพราะมีเซ็นเซอร์จำนวนมากฝังอยู่ภายในหุ่น

" นี่คือหุ่นยนต์ต้อนรับตัวแรกของญี่ปุ่นที่สามารถทำงานในโรงพยาบาลได้จริง และเสียงตอบรับจากผู้บริโภคที่เรียกใช้งานหุ่นยนต์ตัวนี้ก็ไปในทิศทางที่ดี " นาโอยะ นาริตะ (Naoya Narita) พนักงานของโรงพยาบาลกล่าว " จุดประสงค์ของการเปิดตัวหุ่นยนต์เหล่านี้ คือการแสดงให้เห็นถึงทิศทางของโรงพยาบาลในโลกอนาคต ซึ่งจะเป็นที่ที่หุ่นยนต์เข้ามามีบทบาทกับผู้ป่วยและผู้สัญจรไปมาในโรงพยาบาล " นาริตะกล่าว พร้อมระบุว่าทางโรงพยาบาลยังมีแผนที่จะเปิดตัวหุ่นยนต์ตัวอื่นๆในปีหน้าด้วย ประเทศญี่ปุ่นถือเป็นประเทศที่มีอุตสาหกรรมการผลิตหุ่นยนต์ที่มีความก้าวหน้ามากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก ทั้งในด้านหุ่นยนต์เพื่อความบันเทิงและหุ่นยนต์เพื่อการรักษาความปลอดภัย ซึ่งที่ผ่านมา บริษัทสัญชาติญี่ปุ่นได้มีการเปิดตัวหุ่นยนต์ต้นแบบมากมายในงานแสดงหุ่นยนต์ World Expo ที่จัดขึ้นที่กรุงโตเกียวเป็นประจำทุกปี

หุ่นยนต์ กับ การดูจิต

นโม ตัสสะ ภควะโต อรหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (3 จบ) ใคร่ขอ นำเสนอ ธรรมะ ต่อ ท่านผู้อ่าน ดังนี้

1) เคยดูหนังหุ่นยนต์ญี่ปุ่นไหม ? ที่มีหุ่นยนต์ตัวใหญ่ๆ มี มนุษย์เป็นคนขับ นั่งสั่งงานอยู่ภายใน คนขับหุ่นยนต์ เหล่านี้ ในหนังบางเรื่อง จะมีการโยง สายไฟฟ้าให้ การขยับแขน ขยับขา ได้ และตรงกับ การเคลื่อนไหว ของ หุ่นยนต์ที่ตนบังคับอยู่ ( เป็นแบบ real time).....อุปมาเหมือน กับ ร่างกายของเรากับจิตของเรา......ท่านผู้อ่าน ลองคิดดูนะว่า “.ร่างกายเป็นอะไร.? เป็น..ตัวหุ่นยนต์ หรือ คนขับ กันแน่ ?

2) ท่านผู้อ่าน ลอง ดูมือ ดูแขน ของท่าน ....ลองสั่งให้แขน ยกขึ้นซิ ...จะเห็นว่า มี สองจังหวะ ครับ...คือ คิดก่อน และ มีอะไรสักอย่าง ยกแขนขึ้นมา.....ลองดูใหม่นะ

3) ตอน พิมพ์ดีด เขียนบทความนี้ ....อะไรหนอ สั่งนิ้ว ...ดูให้ดีๆ นะ...*** คนที่ฝึก มหาสติฯ มาก่อน จะพบว่า มีจิต มีสติ และมี สมอง ...โดย พวกเขา จะทำจิตให้สงบๆ แล้วปล่อยให้” สติ” ไปสั่งสมอง สมองไปสั่งนิ้ว *** คนที่ฝึกสติมาน้อย...จะพบว่า มี สมอง กับ จิต ยังมองไม่เห็น เรื่อง สติ ชัดเจน หรือ ใช้สติไม่เต็มที่...ดังนั้น บ่อยครั้ง สมองกับจิต จึงทำงานร่วมกัน..... *** คนที่ไม่ได้ฝึกสติมาเลยนั้น....แยกไม่ออกว่า มีจิต มีสติ....พวกเขา เห็นแต่สมองเท่านั้น....ถ้ามีเหตุการณ์ กระเทือนจิตมากๆ เช่น โดนด่า อกหัก สูญเสียของรัก ฯลฯ...สติจะขาดทันที....จิตที่ร้อนลน เป็นอกุศล จะ พาให้ ตอบสนอง ทางกาย วาจา ใจ แบบอกุศล ก่อเวร ก่อกรรม

4) มิจฉาทิฐิ คือ การที่เรา ปล่อยให้ จิต กับ สมอง รวมตัวกัน ....ดังนั้น ถ้า จิตอกุศล ย่อมแน่นอนที่ สมองจะอกุศล และ ก่อ กาย วาจา ใจ ที่เป็น อกุศล.....นี่แหละ พวกเขา เหล่านั้น ขาดสติเป็นตัวขวางกั้น ไม่มีสติ เป็นตัวตัด จิต ออก จาก สมอง

5) ตอนที่เรา เดินนั้น ลองพิจารณาดูนะว่า “ ใครกำลังเดินอยู่.?” ลองออกไปเดินดู อย่าเพิ่งตอบ ...

6) ลองมโนภาพ ว่า ที่ในตัวเรา มีคนขับหุ่นยนต์อยู่ ( จิต) และ หุ่นยนต์ตัวใหญ่ ก็คือ ร่างกายของเรา ...ดังนั้น เวลา เดิน ใครเป็นคนเดิน ? หาพบหรือยังละ

7) ตอนที่เท้า กระทบพื้น รู้ได้อย่างไรว่ากระทบแล้ว.....สัญญา มันบอกว่ากระทบ ...มีเวทนาตามมาไหม....ปรุงแต่ง ( คิด ไปเรื่องอื่น คิดนอกเรื่อง คิดแตกแขนง ฝันกลางวัน ฯลฯ ต่อไหม ) .....ลองเดินดูนะ ....จิตนิ่งๆ สักแต่ว่า รู้ กระทบก็ให้รู้ว่ากระทบ ยกก็ให้รู้ว่ายก เหยียบก็ให้รู้ว่าเหยียบ.....แต่ จิตนิ่ง ( รักษา ความสงบ ภายในกาย ภายในใจ เอาไว้) .....เวลาเดิน บางคนเดินแบบ จิตไปสั่งให้เดิน อันนี้ก็ต้องดูให้รู้นะ ว่าจิต .....บางคน เดินไม่เป็น เอาแต่ บริกรรม ยก ย่าง เหยียบ...กลายเป็น ท่องจำ พร้อมเดินไปด้วย นี่แหละ เรียกว่า แบบขาดสติ...และ หลงทาง อีกต่างหาก...ถ้าโชคดีมี.ครูบาอาจารย์ที่หมั่นดู หมั่นแก้ให้ ก็ดีไป.....ถ้ากรรมมาบัง เรา ดันไปเจออาจารย์ที่ แยก สติ จิต กาย ยัง ไม่เป็น แต่ รีบร้อน มาสอน เราก็หลงทางไปพร้อมกับท่านนั่นแหละ

8) ทีนี้ เข้าใจไหม ใครเห็น ใครเดิน ใครกิน ใครคิด .....ตอบได้หรือยัง......แยก จิต กับ กาย ได้หรือยังละ

9) บางคน ที่ห่วง แต่ ความสวยความงามของร่างกาย ....นี่แหละเพราะ เขาอาจจะยังไม่เข้าใจว่า ...จิตของเราเป็น อมตะ...ไม่มีวันตาย.....จิตออกจากร่างกาย ก็อาจจะไปหา หุ่นยนต์ตัวใหม่อยู่ ...หรือ ??? คนที่ จิต กับ สมอง ปนกัน แยกไม่ออก ก็อาจจะไป ร่างใหม่ ที่ไม่ต้อง คิดมาก เช่น สัตว์ต่างๆ เพราะ ยังไม่เข้าใจ เรื่อง สติ ยัง หลงอยู่ แต่ คนที่ตายแล้ว จิตยังห่วงงาน ห่วงเมีย ห่วงสมบัติ ฯลฯ จิตก็กลายสภาพเป็นเปรต ไม่ หุ่นยนต์ (ไม่มี กายเนื้อ) คนที่ จิต โมโห โทโส ร้อนรุ่ม ก็ไปหาที่ ร้อนๆ อยู่ เช่น นรกบ้าง เป็น ยักษ์บ้าง ( ตามหลักวิทยาศาสตร์ จิตร้อน ยังเอาไปที่เย็นๆ ไม่ได้ เพราะ ก็เหมือน เอา ของร้อน จุ่มน้ำแข็ง ผลคือ แตกครับ ) คนที่จิตโลภมากๆ ก็ ไปเป็น เปรต เป็นอะไรไปตามเรื่องคนที่ จิตเป็นกุศล แต่ แยก สติไม่เป็น ทำบุญเป็น แต่ ทำความเข้าใจเรื่อง กาย เรื่องจิต ( แยก รูป แยกนาม ไม่ได้) เมื่อ จิตออกจากร่าง ก็ไปเป็น เทวดา เป็นคนสวย คนรวย ....เป็นเทวดา ไม่มีกายเนื้อ ไม่มีเวทนา....ไม่มีหุ่นยนต์ให้ขับอีก....ฝึกมหาสติฯ สี่อย่าง คือ กาย เวทนา จิต ธรรม พร้อมกัน ได้ไม่ง่ายนัก

10 ) ....จิตบางคนมีพลังมาก ขนาดไฟไหม้ยังยกตุ่มได้ .เจ็บปวดยังข่มเวทนาได้...เพ่งกสิณยังดัดช้อนให้งอ หรือ ตัดตะเกียบขาดได้.....แต่ “สติอยู่ตรงไหน? กลับหาไม่เจอ “ นี่แหละ....ฝึกกสิณได้แล้ว ก็ต้องมาฝึก วิปัสสนาต่อครับอย่าหยุดแค่นั้น

11) บางท่าน ฝึกเดินๆๆ จนเป็นสมถะ เห็น วงสีขาวๆกลางอก....บ้างเห็น ดอกบัว บาน หุบ ในนิมิต.....พอเราเตือนว่า “ใครเห็นนิมิต” ...พวกเขา.บางทีก็เถียงมาว่า “ เห็น อนิจจัง เห็นดอกบัว เกิดดับ. ครับ เห็นธรรม แล้วครับ นี่แหละ ปัญญา นี่แหละวิปัสสนา”... ผมขอบอกว่า อันนี้ไม่ใช่นะ...อันนี้ เป็น สมองของท่าน คิดเองนะ เป็นแค่ระดับสัญญาเท่านั้นหนา .ไปบังคับดอกบัวให้มันเกิด มันเหี่ยว .... อันนี้...ยังไม่ได้ ฝึก สติ ไม่ได้ฝึกปัญญาเลย...พวกนี้ ฝึกต่อไป ก็ได้ ฌาน ได้ฤทธิ์ ....หลงแล้ว !!! .... ยังหาทางออกจากวัฎสงสารไม่เจอ...ตายไปเป็นพรหมบ้าง .เทวดาบ้าง..หมดความเป็นพรหม ก็ลงมาเกิดใหม่....เป็นอะไรก็แล้วแต่กรรมที่ทำไว้.....ทีนี้ พอมาเป็นคน ก็ชอบฝึกฌานอีก. เป็นโยคี เป็นอาจารย์ ตายไป..ก็วนไปเป็นเทวดา เป็นพรหมอีก...วนไปวนมา...นี่แหละ หลงทาง....วนเสียให้เข็ด...วนจนกว่าจะหายโง่ขอให้เจริญในสติ ในปัญญา ตามดู ตามเข้าใจปัจจุบันธรรม ให้ได้นะ เอวังด้วยประการฉะนี้

ร้านราเมงกับหุ่นยนต์ในญี่ปุ่น



ไม่นานมานี้ได้มีการรายงานข่าวของหุ่นยนต์พ่อครัวที่ทำราเมงขายในร้านอาหารเล็กๆ แห่งหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น โดยหุ่นยนต์พ่อครัวราเมงหรือบะหมี่แนวญี่ปุ่นนั้นมีชื่อเป็นที่รู้จักกันดีว่า FuA-Men ที่ย่อมาจาก Fully Automated reMen ซึ่งหุ่นยนต์ FuA-Men ถือเป็นหุ่นยนต์พ่อครัวราเมงที่สามารถประกอบอาหารอย่างราเมงในทุกขั้นตอนได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องมีคนมาควบคุมการทำงาน

ซึ่งภายในร้านขางราเมงร้านนี้จะมีหุ่นยนต์อยู่สองตัวที่ทำหน้าภายในร้าน โดยที่ตัวแรกทำหน้าที่เป็นพ่อครัวและหุ่นยนต์อีกตัวทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยพ่อครัว หุ่นยนต์ทั้งสองตัวเป็นหุ่นยนต์ที่ทำงานอัตโนมัติและสามารถทำงานในด้านการประกอบอาหารได้อย่างสมบูรณ์ ไม่มีขาดตกบกพร่อง ซึ่งในหนึ่งวันหุ่นยนต์จะสามารถทำราเมงได้ 80 ชามต่อวัน

หุ่นยนต์ FuA-Men จะมีความเที่ยงตรงในการประกอบอาหารทั้งในด้านปริมาณเครื่องปรุง เส้น เนื้อสัตว์ หรือส่วนประกอบอื่นๆ และที่สำคัญ หุ่นยนต์ FuA-Men จะใช้เวลาในการทำราเมงในแต่ละชามที่เท่ากัน รสชาติของราเมงแต่ละชามก็จะเหมือนกัน

ลูกค้าของร้านราเมงเปิดเผยว่า การรับประทานราเมงจากพ่อครัวที่เป็นหุ่นยนต์นี้ให้ความรู้สึกที่แตกต่างเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับราเมงที่ทำมาจากพ่อครัวที่เป็นคน เนื่องจากในบางครั้งบะหมี่หรือราเมงแบบเดียวกันจะมีรสชาติต่างๆกันในแต่ละชามเนื่องจากความเที่ยงตรงของพ่อครัวที่เป็นคนจะมีไม่เท่าหุ่นยนต์พ่อครัวนั่นเอง

เจ้าของร้านราเมงเปิดเผยว่า ข้อดีของการใช้หุ่นยนต์พ่อครัวในการทำราเมงก็คือ สามารถควบคุมเวลาในการทำราเมง มีจำนวนที่แน่นอนในการทำราเมงต่อวันทำให้ง่ายต่อการวางแผนการตลาดและการควบคุมทางด้านยอดขาย ที่สำคัญหุ่นยนต์ FuA-Men ใช้ปริมาณเครื่องปรุง เนื้อสัตว์ ผักในปริมาณที่แน่นอน เที่ยงตรง ทำให้การจัดการในด้านวัตถุดิบสำหรับขายในแต่ละวันทำได้ง่ายขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น


หุ่นยนต์ FuA-Men ทั้งสองตัวนี้นอกจากจะทำราเมงบริการให้กับลูกค้าที่ร้านแล้ว พวกมันยังมีการแสดงท่าทางตลกแบบญี่ปุ่น เต้นท่าแปลกๆ และสร้างความบันเทิงให้กับลูกค้าของร้านอีกด้วย

ซีทีเอเชียส่งหุ่นยนต์ไทยลุยนอก ประเดิมญี่ปุ่น-ดูแลคนชรา

นายเฉลิมพล ปุณโณทก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีที เอเชีย โรบอทติกส์ จำกัด ผู้ผลิตและทำตลาด หุ่นยนต์ที่ใช้เพื่อการพาณิชย์ เปิดเผยว่า บริษัทเล็งเห็นโอกาสที่จะผลิตและทำตลาดหุ่นยนต์ที่ใช้เพื่อการพาณิชย์ ซึ่งถือเป็นรายแรกของโลก สำหรับส่งออกไปยังต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่มีศักยภาพอย่างญี่ปุ่น หลังจากได้ศึกษาภาพรวมของตลาดหุ่นยนต์ของโลกมีแนวโน้มอัตราการเติบโตสูงมาก โดยสมาคมหุ่นยนต์ของญี่ปุ่นประเมินไว้ว่า ในอีกประมาณ 20 ปีข้างหน้า หรือปี"68 ตลาดหุ่นยนต์ทุกประเภทจะมีมูลค่ารวม 66,400 ล้านดอลลาร์ ซึ่งถือว่าจะเป็นตลาดที่ใหญ่กว่าอุตสาหกรรมรถยนต์ ดังนั้น บริษัทจึงได้พัฒนาและผลิตหุ่นยนต์ไทยตัวแรกจากทีมวิศวกรไทย ซึ่งมุ่งเจาะตลาดทั้งในและต่างประเทศทั้งนี้ บริษัทได้วางแนวทางจะมุ่งพัฒนาและผลิตหุ่นยนต์ 3 ประเภท คือ หุ่นยนต์เพื่อการบริการในร้านอาหาร หุ่นยนต์เพื่อการศึกษา และหุ่นยนต์สำหรับดูแลคนชรา โดยขณะนี้บริษัทได้ใช้งบลงทุนไปแล้วกว่า 10 ล้านบาท เริ่มพัฒนาหุ่นยนต์เพื่อการบริการให้กับบริษัท เอ็มเค เรสโตรองต์ จำกัด ผู้บริหารร้านอาหารสุกี้เอ็มเค จำนวน 10 ตัว ซึ่งจะเริ่มส่งมอบได้ 1 ตัวในปลายปีนี้ และกลางปี"53 จะส่งมอบได้ทั้งหมด ส่วนปีหน้าจะผลิตหุ่นยนต์เพื่อการศึกษา สำหรับสอนวิทยาศาสตร์ในพิพิธภัณฑ์ ศูนย์เพื่อการเรียนรู้และโรงเรียนต่างๆ นอกจากนี้ ในปีหน้ามีแผนจะนำหุ่นยนต์ที่ผลิตโดยทีมวิศวกรไทยไปโชว์ในงาน โรบอต เอ็กซ์โป กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ในช่วงไตรมาส 2 และตั้งเป้าหมายเจาะตลาดหุ่นยนต์ญี่ปุ่นภายใน 3 ปี เนื่องจากความต้องการมีสูง และต้นทุนของหุ่นยนต์ไทยถูกกว่าหุ่นยนต์ที่ผลิตจากญี่ปุ่น 5-10 เท่า เนื่องจากค่าแรงสูงมาก คาดว่าน่าจะได้รับการตอบรับที่ดี โดยเฉพาะหุ่นยนต์สำหรับดูแลคนชรา สำหรับในปีหน้าบริษัทตั้งเป้าหมายจะมียอดขายจากการจำหน่ายหุ่นยนต์ 30 ล้านบาท ในส่วนของหุ่นยนต์เพื่อการบริการ แต่หุ่นยนต์เพื่อการศึกษาบริษัทยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ในขณะนี้

วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2552

รมว.วิทย์ฯ เป็นประธานเปิดตัวหุ่นยนต์ไทยตัวแรกที่ผลิตเชิงพาณิชย์ โดยทีมวิศวกรไทยและเปิดตัวบริษัท CT






ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานแถลงข่าวเปิดตัวหุ่นยนต์ต้นแบบตัวแรกของไทยที่ใช้เพื่อการพาณิชย์ชื่อหุ่นยนต์ CT ผลิตโดยวิศวกรไทย และเปิดตัวบริษัท CT Asia Robotics จำกัด โดยมี ดร.ศุภชัย หล่อโลหการ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ(องค์การมหาชน) (สนช.) , คุณเฉลิมพล ปุณโณทก ประธานกรรมการผู้จัดการ บริษัท CT Asia Robotics จำกัด และคณะผู้บริหารร่วมงาน ณ ห้อง Ballroom 3 โรงแรม Conrad เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2552 ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า การเปิดตัวของบริษัท CT Asia Robotics จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผลิตหุ่นยนต์ไทยตัวแรกโดยทีมวิศวกรไทย โดยความร่วมมือระหว่างสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สนช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาและผลิตหุ่นยนต์ต้นแบบของไทยเพื่อการพาณิชย์ นับเป็นนิมิตรหมายอันดีในการสร้างความตื่นตัวให้กับการส่งเสริมอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ไทยเป็นอย่างมาก หลังจากที่นักศึกษาไทยหลายสถาบันคว้ารางวัลแข่งขันหุ่นยนต์ระดับโลก ตลอดระยะเวลา 4- 5 ปีที่ผ่านมา นอกจากเป็นการสร้างตลาดใหม่ รายได้ใหม่ และการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการไทยในอุตสาหกรรมไฮเทค ตลอดจนกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ได้ดำเนินการผ่าน สนช. ในการให้การสนับสนุนโครงที่จะก่อให้เกิดการเร่งสร้างเศรษฐกิจ สร้างงาน และสร้างรายได้ให้กับประเทศอีกทางหนึ่ง ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช กล่าวต่อว่า รัฐบาลมีนโยบายที่จะให้เชื่อมโยงผลงานของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับเอกชน ผู้ประกอบการทางด้านอุตสาหกรรมต่างๆ จากผลงานวิทยาศาสตร์ให้เร็วที่สุดด้วยเหตุผล 3 อย่างคือ 1. ทำอย่างไรที่จะลดต้นทุน 2. เพื่อเพิ่มมูลค่า 3. สามารถนำไปแข่งขันได้ ดังนั้น เป็นที่น่ายินดีว่าในวันนี้นโยบายของรัฐบาลและของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เป็นความจริง และในขณะนี้ทางกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้จัดตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐเอกชนด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี หรือ กรอ.วท. เพื่อเป็นกลไกผลักดันให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีกับเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งคณะกรรมการร่วมภาครัฐเอกชนด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี หรือ กรอ.วท.นี้ ประกอบด้วยผู้แทนจาก NGO ผู้แทนจาก SME ผู้แทนจากสมาคมธนาคารไทย ผู้แทนจากหอการค้าไทย องค์กรหน่วยงานต่างๆ มาทำวิจัยพัฒนาร่วมกัน เพื่อนำไปสู่การสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนทุกภาคส่วน
ด้าน ดร.ศุภชัย หล่อโลหการ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)(สนช.) กล่าวว่า สนช. เห็นความสำคัญของการส่งเสริมการนำความคิดสร้างสรรค์มาพัฒนาต่อยอดให้เกิด
ธุรกิจนวัตกรรม โดย สนช.สนับสนุนโครงการนวัตกรรมหุ่นยนต์บริการอัจฉริยะ ของบริษัท CT Asia Robotics จำกัด ซึ่งประเทศไทยต้องการผู้ประกอบการที่สามารถซึมซับและขยายองค์ความรู้ให้ออกมาเป็นสินค้า ซึ่งถือได้ว่าเป็น “สินค้าสร้างสรรค์” การออกแบบเชิงนวัตกรรม ถือว่าเป็นเครื่องมือในการแปรรูปความคิดทั้งด้านศิลปะและเทคโนโลยี กลุ่มอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ของไทยนั้นถือได้ว่าเป็นคลื่นลูกใหม่ที่จะสามารถสร้างฐานรายได้ใหม่ ซึ่งจะสอดคล้องกับยุคเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่สำนักงานนวัตกรรมฯ กำลังขับเคลื่อนกลุ่มผู้ประกอบการสร้างสรรค์บนพื้นฐานของเทคโนโลยี
ด้านนายเฉลิมพล ปุณโณทก ประธานกรรมการผู้จัดการบริษัท CT Asia Robotics จำกัด กล่าวว่า บริษัท CT Asia Robotics จำกัด ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นบริษัทแนวหน้าของคนไทยในเวทีธุรกิจหุ่นยนต์ของโลก โดยการพัฒนาหุ่นยนต์ในรูปแบบต่างๆ รองรับความต้องการของตลาดที่มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น ทั้งงาน
บริการในร้านอาหาร และงานส่งเสริมกิจกรรมทางการตลาด อาทิ งาน Event ต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ สำหรับแผนการทำตลาดหุ่นยนต์ไทยตัวแรก (หุ่นยนต์ CT )ที่ผลิตขึ้นจะนำไปใช้ในการเสริฟอาหารของลูกค้า โดยกลุ่มเป้าหมายของลูกค้าคือ กลุ่มลูกค้าที่ใช้งานหุ่นยนต์ในการสร้างสีสันนอกจากนี้ยังอยู่ระหว่างการพัฒนาหุ่นยนต์ตัวที่สองเพื่อรองรับงานส่งเสริมกิจกรรมทางการตลาดต่างๆ ด้วย
การทำตลาดหุ่นยนต์ที่ผลิตขึ้นโดยบริษัท CT Asia Robotics จำกัด มุ่งเจาะตลาดทั้งในและต่างประเทศโดยการพัฒนาหุ่นยนต์ของบริษัทจะทำขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่หลากหลาย ครอบคลุมทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่เด็ก วัยรุ่น คนทำงานและผู้สูงอายุ ส่วนแผนระยะยาวบริษัทตั้งเป้าเจาะตลาดหุ่นยนต์ญี่ปุ่นภายใน 3 ปี สำหรับหุ่นยนต์ไทยตัวแรกซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการผลิตจะสามารถนำไปใช้จริงได้ในช่วงไตรมาส 2 ของปี พ.ศ. 2553 และบริษัทมีแผนที่จะนำหุ่นยนต์ที่ผลิตโดยทีมวิศวกรไทยไปโชว์ในงาน Robot Expo ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ในปี 2553

ซีทีฯชูหุ่นยนต์เอ็ดดูเทนเมนต์

ซีที เอเชียโรโบติกส์ ได้ฤกษ์ เปิดตัวหุ่นยนต์บริการเสิร์ฟอาหาร หลังสุกี้ เอ็มเค ทุ่ม 10 ล้าน สั่งซื้อให้บริการ วางแผนคลอดหุ่นยนต์เอ็ดดูเทนเมนต์ออกมาประมาณกลางปีหน้า พร้อมวางแผนระยะยาว 3 ปี ส่งออกหุ่นยนต์บริการดูแลคนชรา-เด็ก เจาะตลาดแดนปลาดิบ นายเฉลิมพล ปุณโณทก กรรมการผู้จัดการ บริษัทคอมพิวเตอร์ เทเลโฟนี่ เอเชีย จำกัด หรือ ซีทีเอเชีย จำกัด เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ว่าขณะนี้ได้เปิดตัวบริษัทลูก คือซีทีเอเชีย โรโบติกส์ จำกัด อย่างเป็นทางการ เพื่อพัฒนาหุ่นยนต์เชิงพาณิชย์เป็นรายแรกในไทย และภูมิภาคอาเซียน โดยแผนธุรกิจระยะสั้นนั้นได้พัฒนาหุ่นยนต์เสิร์ฟอาหาร ถ่ายรูป ร้องเพลงวันเกิด ให้กับสุกี้ เอ็มเค ซึ่งมียอดการสั่งซื้อเบื้องต้น 10 ตัว มูลค่าประมาณ 10 ล้านบาท "หุ่นยนต์ดังกล่าวมีชื่อว่า หุ่นยนต์ซีที (CT) มีคุณสมบัติพิเศษให้บริการรับคำสั่งด้วยเสียงอัตโนมัติ สื่อสารกับมนุษย์ได้ 2 ภาษา คือ ภาษาอังกฤษ กับภาษาไทย เคลื่อนที่ด้วยล้อได้รอบทิศทางในพื้นราบด้วยพลังงานแบตเตอรี่อยู่ได้นาน 3 ชั่วโมง สามารถยกสิ่งของได้ไม่ต่ำกว่า 5 กิโลกรัม พัฒนาขึ้นมาโดยวิศวกรคนไทย ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศการแข่งขันหุ่นยนต์กู้ภัย อย่างไรก็ตามทางเอ็มเค จะเปลี่ยนชื่อหุ่นยนต์ดังกล่าวเป็น "ดินสอ" เพื่อให้บริการเสิร์ฟอาหารภายในร้าน" ขณะที่แผนธุรกิจระยะกลางนั้นได้เตรียมพัฒนาหุ่นยนต์เพื่อการเรียนรู้ และความบันเทิง (Edutainment) ออกมาสู่ตลาดประมาณกลางปีหน้า ส่วนแผนระยะยาวนั้นได้วางเป้าหมายพัฒนาหุ่นยนต์ดูแลคนสูงอายุและเด็ก ออกไปจำหน่ายในประเทศญี่ปุ่นอีกประมาณ 3 ปีข้างหน้า ตลาดหุ่นยนต์มีแนวโน้มเติบโตสูง จากการประเมินของสมาคมหุ่นยนต์ญี่ปุ่นระบุว่า ปี 2568 ตลาดหุ่นยนต์ทุกประเภทจะมีมูลค่ารวม 66,400 ล้านเหรียญ ในจำนวนนี้ตกเป็นของหุ่นยนต์บริการประมาณ 50,000 ล้านเหรียญ ขณะที่สำนักงานพัฒนาอุตสาหกรรม-เศรษฐกิจของไต้หวัน คาดการณ์ว่าตลาดหุ่นยนต์ทุกประเภทจะมีมูลค่ารวมมากกว่ามูลค่าตลาดรถยนต์ทั้งโลก
ส่วนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ให้บริการ ใช้งานตามบ้าน ยังมีโอกาสเติบโต โดยยังไม่มีผู้นำในอุตสาหกรรมนี้ โดยคาดว่าแต่ละปีตลาดมีมูลค่ากว่า 10,000 ล้านบาท นายเฉลิมพล กล่าวต่ออีกว่าในส่วนของรายได้นั้นบริษัทไม่ได้ตั้งเป้าหมายเอาไว้ แต่ต้องการสร้างอุตสาหกรรมผลิตหุ่นยนต์เชิงพาณิชย์ของไทยขึ้นมาแข่งขันในเวทีโลก อย่างไรก็ตามคาดว่าภายในปีหน้าธุรกิจดังกล่าวจะสามารถสร้างรายได้เลี้ยงตัวเองได้ ทั้งนี้ในการพัฒนาหุ่นยนต์บริการนั้นบริษัทมีแผนลงทุนทั้งหมดราว 50 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้ได้รับงบประมาณสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 1 ล้านบาท เบื้องต้นคาดว่าจะใช้งบวิจัยและพัฒนา รวมถึงการตลาดราว 20 ล้านบาท

เที่ยวสัปดาห์วิทย์ดูโลกร้อนผจญภัยป่าจุลินทรีย์-หุ่นยนต์ญี่ปุ่น

ก.วิทย์ชูภาวะโลกร้อนประเด็นหลักในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ มุ่งเผยแพร่ความรู้ให้เยาวชนตระหนักถึงอันตรายจากอุณหภูมิของโลกที่เพิ่มขึ้น และแนวทางชะลอหายนะดังกล่าวผ่านกิจกรรมหลากรูปแบบ อาทิ อุโมงค์พลังงาน ต้นไม้จำลอง และสุริยะฟิสิกส์ พร้อมทั้งผจญภัยในป่าจุลินทรีย์และชมหุ่นยนต์จากญี่ปุ่น
ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า กระทรวงอนุมัติงบประมาณ 80 ล้านบาท จัดงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2550 เน้นนำเสนอข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้องกับภาวะโลกร้อน เช่น สาเหตุที่ทำให้อากาศร้อนขึ้นทั้งจากมนุษย์และการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ พร้อมนำเสนอวิธีการช่วยเหลือ หรือชะลอการเกิดหายนะครั้งนี้ให้มาถึงช้าที่สุด
ตัวอย่างซุ้มกิจกรรม เช่น กิจกรรมเติมฝัน สานจินตนาการ ชะลอสภาวะโลกร้อน ซึ่งนำต้นไม้จำลองสีขาวมาเป็นอุปกรณ์ให้เด็กๆ ได้ถ่ายทอดจินตนาการหรือวิธีการที่จะชะลอการเกิดภาวะโลกร้อน กิจกรรมอุโมงค์พลังงาน ซึ่งรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพลังงานทั้งหมดในโลกมาให้เยาวชนเรียนรู้ เช่น พลังงานฟอสซิล (น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ) ที่กำลังจะหมด พลังงานทดแทน เช่น พลังงานชีวมวล พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานแห่งอนาคต เช่น พลังงานนิวเคลียร์ พลังงานเซลล์เชื้อเพลิง เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีโซนความรู้วิทยาศาสตร์ เช่น สุริยะฟิสิกส์ นาโนเทคโนโลยี การเรียนรู้วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์จากว่าว รวมทั้งกิจกรรมการผจญภัยในป่าจุลินทรีย์ ในรูปแบบห้องปฏิบัติการจำลอง ซึ่งจะนำตัวอย่างเชื้อจุลินทรีย์มาให้ส่องกล้องดูด้วยตัวเอง กิจกรรมสื่อสาธิตเรื่องแสงและคุณสมบัติของแสง การทดลองโฟมหายด้วยสารสกัดจากเปลือกมะนาว ภายในงานยังมีกิจกรรมประชันความสามารถ อาทิ แข่งขันออกแบบหุ่นยนต์นานาชาติ 2550 เครื่องบินกระดาษพับชิงแชมป์ประเทศไทย
มหกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์มีประเทศพันธมิตรตอบรับที่จะส่งเทคโนโลยีร่วมแสดงบ้างแล้ว อาทิ ญี่ปุ่น เยอรมนี จีน อังกฤษ ออสเตรเลีย และฝรั่งเศส กิจกรรมที่นำเข้ามาแสดงจะเน้นไปที่หุ่นยนต์ เครื่องมือกล อุปกรณ์ตรวจสอบภัยธรรมชาติและพลังงานนิวเคลียร์ ซึ่งล้วนอยู่ในความสนใจของประชาชนทั่วโลก รมว.วิทยาศาสตร์ฯ กล่าว
มหกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์กำหนดจัดที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา ระหว่างวันที่ 8-19 สิงหาคมนี้

นิยายหุ่นยนต์

หุ่นยนต์อีกกลุ่ม ที่คนไทยคุ้นเคยก็คือ หุ่นยนต์ในการ์ตูนญี่ปุ่น ที่เริ่มจากหนังสือการ์ตูน แล้วก็กลายไปเป็นหนัง
หุ่นยนต์ญี่ปุ่นที่เคยฮือฮาช่วงแรก ๆ ก็คือ Astro Boy (พ.ศ. 2494) ในชื่อภาษาไทยว่า เจ้าหนูอะตอม เขียนโดย โอซามุ เทซึกะ หุ่นยนต์เด็กในเรื่อง ตอนแรกต้องปกปิดตัวเอง แต่ ด้วยสถานการณ์ ก็ต้องใช้ความสามารถ ปกป้องอันตรายที่จะเกิดกับมนุษย์ เมื่อกลายเป็นหนังก็ ทำออกมาถึง 193 ตอน
การที่หุ่นยนต์ ต้องต่อสู้กับวายร้าย เพื่อปกป้องโลก เป็นแนวเรื่องหลักของการ์ตูนญี่ปุ่น หุ่นยนต์เหล่านั้นเช่น งานของโก นากาอิ เรื่อง Mazinger Z (หุ่นยนต์แซด พ.ศ. 2515) Great Mazinger (เกรทมาชินกา พ.ศ. 2517) Grendizer (เกรนไดเซอร์ พ.ศ. 2518) เมื่อเจ้าชายต่างดาว พลัดถิ่นมา ในหุ่นยนต์จานบิน และต้องสู้กับมนุษย์ต่างดาว หุ่นยนต์พวกนี้ ใช้คนบังคับหนึ่งคนใน ขณะที่การ์ตูนชุด เก็ตเตอร์ ใช้คนบังคับ 3 คน และเปลี่ยนร่างได้
สำหรับ Combata V (คอมแบตตาวี) เป็นต้นแบบของหุ่นยนต์ที่ใช้คน 5 คน ร่วมบังคับ หุ่นยนต์ญี่ปุ่นยุคหลัง ๆ จึงเริ่มมีคนควบคุมเป็นทีม
นิยายวิทยาศาสตร์ของญี่ปุ่น ที่เป็นทั้งนิยาย และการ์ตูน เรื่องที่น่าสนใจเรื่องหนึ่งคือ Ginga Tetsudo 999 หรือ Galaxy Express 999 ฉบับการ์ตูนมี 18 เล่ม จบราว ๆ ต้นทศวรรษ 1980 เขียนโดย เลจิ มัตซึโมโต เนื้อเรื่องกล่าวถึง สังคมที่มนุษย์จะอยู่รอดได้ ต้องดัดแปลงร่างเป็น ไซบอร์ก ทำให้ โฮชิโนะ เทซึรุ เด็กอายุราว 10 ขวบ ต้องโดยสารไปกับ ขบวนรถไฟ 999 เพื่อไป ดัดแปลงร่างที่ดาว แอนโดรมีดา

หุ่นยนต์บุกครัว ญี่ปุ่นโชว์พ่อครัวสมองกล

ในเมื่อญี่ปุ่นสามารถสร้างหุ่นยนต์ทำความสะอาด และหุ่นยนต์รินน้ำพร้อมเสิร์ฟ จะยากอะไรกับการพัฒนาหุ่นยนต์พ่อครัวที่สามารถทำอาหารได้ ญี่ปุ่นจัดแสดงหุ่นยนต์พ่อครัวหลายรุ่นในงานแสดงเทคโนโลยีและเครื่องจักรอาหารนานาชาติ FOOMA Japan International Food Machinery and Technology Expo ที่จัดขึ้นในโตเกียวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีทั้งหุ่นยนต์ทำพิซซ่าญี่ปุ่น "โอโคโนมิยากิ" และหุ่นยนต์ทำซูชิทีการันตีว่าสามารถจัดวางซูชิได้เป็นระเบียบเรียบร้อย หุ่นยนต์นักทำโอโคโนมิยากิถูกเรียกตรงตัวว่า Okonomiyaki Robot นาริโตะ โฮโซมิ ประธานบริษัทโตโยริกิ (Toyo Riki) ผู้ผลิตโอโคโนมิยากิโรบ็อทซึ่งมีสำนักงานในโอซาก้าให้สัมภาษณ์ว่า การพัฒนาครั้งนี้เกิดขึ้นเพื่อต้องการนำเทคโนโลยีจักรกลในโรงงานมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน โดยโอโคโนมิยากิโรบ็อทสามารถยืนปรุงโอโคโนมิยากิหน้าเตาร้อนๆได้ สามารถคลุกเคล้าส่วนผสมในชามได้ไม่หกเลอะเทอะ ก่อนจะเทลงในกระทะร้อน สามารถทอดและกลับด้านโอโคโนมิยากิ พร้อมตักขึ้นจานเพื่อเสิร์ฟได้ ที่สำคัญ โอโคโนมิยากิสามารถถามได้ด้วยว่าต้องการซอร์สชนิดไหนหรือต้องการเครื่องปรุงอะไรเพิ่มเติม สำหรับหุ่นยนต์ที่สามารถจักเรียงซูชิได้ใช้ชื่อเรียบๆว่า Chef Robot ผลิตโดยผู้ผลิตเครื่องจักรด้านอาหารนามบาบะเทกโกโซ (Baba Tekkosho) ร่วมกับบริษัท FANUC ผู้ผลิตระบบจัดวางอาหาร M-430iA และบริษัท Scuse ผู้ผลิตหุ่นยนต์แขน type H ที่ถูกนำมาประยุกต์เข้าด้วยกันจนกลายเป็นหุ่นยนต์แขนพ่อครัวที่สามารถจัดวางอาหารได้ไม่ต่างจากมนุษย์ ทั้งซูชิ หรือขนมเค้ก โดยสามารถระมัดระวังไม่ให้อาหารเสียหาย การโหมพัฒนาหุ่นยนต์ของญี่ปุ่นเป็นผลจากการเตรียมตัวรับมือปัญหาประชากรของประเทศ ที่เชื่อว่ากำลังจะเข้าสู่ยุคที่ประชากรผู้สูงวัยจะมีจำนวนมากกว่าวัยหนุ่มสาว หุ่นยนต์เหล่านี้จึงถูกพัฒนาขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนอาชีพแม่บ้าน ผู้ดูแล และพ่อครัวในอนาคต ซึ่งจะสามารถแบ่งเบาภาระของหนุ่มสาวญี่ปุ่นที่เชื่อว่าจะมีจำนวนน้อยได้ สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ที่ใหญ่ที่สุด โดยมากกว่าครึ่งหนึ่งของหุ่นยนต์โลกที่มีอยู่กว่า 800,000 ตัวถูกพัฒนาโดยบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น คาดว่ามูลค่าตลาดหุ่นยนต์จะขยายตัวแตะระดับ 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯในเร็ววันนี้

ญี่ปุ่นเจ๋ง พัฒนาหุ่นยนต์เกษตรกร



ชุดหุ่นยนต์เกษตรกรนี้ถูกเรียกว่า Wearable Agrirobot เป็นผลงานของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีและการเกษตรโตเกียวหรือ Tokyo University of Agriculture and Technology ชุดต้นแบบมาในรูปหุ่นยนต์สวมใส่ได้ที่มีตัวช่วยผ่อนแรงเป็นมอเตอร์ 8 ตัวและเซนเซอร์อีก 16 จุด ชุดต้นแบบยังมีขนาดหนักอยู่มาก น้ำหนักราว 25 กิโลกรัม ออกแบบมาเพื่อให้ผู้สูงวัยซึ่งปวดข้อปวดเข่าสามารถก้มหรืองอตัวเพื่อทำการเกษตรได้สะดวกขึ้น ชุดหุ่นยนต์นี้จะช่วยรองรับน้ำหนักตัวบริเวณกล้ามเนื้อขา ทำให้ผู้สูงวัยไม่ปวดเมื่อยง่าย โดยการสาธิตพบว่าผู้ที่สวมชุดหุ่นยนต์นี้สามารถดึงรากไม้จากดินหรือเอื้อมมือปลิดผลส้มได้โดยไม่ต้องเปลืองแรงมากเช่นปกติ นักวิจัยแดนปลาดิบบอกว่าต้องการพัฒนาชุดหุ่นยนต์การเกษตรนี้เพื่อจำหน่ายให้ได้ในช่วงเวลา 2-3 ปีต่อจากนี้ เชื่อว่าสนนราคาจะอยู่ที่ระหว่าง 500,000-1,000,000 เยน (ราว 150,000-300,000 บาท) นักวิจัยญี่ปุ่นเชื่อว่าเทคโนโลยีหุ่นยนต์ซึ่งมนุษย์สวมใส่ได้จะถูกประยุกต์ใช้ในหลายอุตสาหกรรมในอนาคต โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการเกษตรซึ่งมีโอกาสเติบโตสูง นักวิจัยเชื่อว่าโอกาสนี้ชัดเจนมากในญี่ปุ่น ซึ่งต้องหาทางป้องกันผลกระทบจากภาวะประชากร สูงวัยมีจำนวนมากกว่าวัยหนุ่มสาว เช่นเดียวกับประเทศในยุโรปบางประเทศ ซึ่งเป็นประเทศที่มีขนาดเล็กและไม่มีบุคลากรมากพอสำหรับทำการเกษตรด้วยมือ


"มูราตะ" และกองทัพหุ่นยนต์ญี่ปุ่นถึงสัปดาห์วิทย์แล้ว






อดใจรอคอยกันพักใหญ่ว่ากองทัพหุ่นยนต์จากประเทศญี่ปุ่นจะมาร่วมงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2550 ทันกำหนดหรือเปล่า? ในที่สุดหุ่นยนต์เด็กชายขี่จักรยาน "มูราตะ" และหุ่นยนต์ฮิวมานอยด์ตั้งโต๊ะ ก็มาเปิดรอบการแสดงเรียกเสียงฮือฮาจากผู้มาร่วมงานน้อย -ใหญ่ไปบ้างแล้วในวันที่ 2 ของการจัดงาน หุ่นยนต์เด็กชายถีบจักรยาน "มูราตะ" (Murata) หรือชื่อในภาษาญี่ปุ่นคือ "มูราตะเซซัคคุง"เป็นหุ่นยนต์ขี่จักรยานสูง 50 ซม.น้ำหนัก 5 กก. ซึ่ง บ.มูราตะ แมนูแฟคเจอริ่ง ประเทศญี่ปุ่นได้ผลิตขึ้นแล้ว 3 ตัว (มูลค่าตัวละ 2.7 ล้านบาท) แต่ไม่ได้ทำออกจำหน่าย หุ่นยนต์มูราตะได้รับการพัฒนาขึ้นให้มีการทรงตัวที่ดีด้วยอุปกรณ์ไจโรเซ็นเซอร์ (Gyro Sensor) สามารถตรวจหาเส้นทาง ขี่จักรยานไปข้างหน้าและถอยหลังได้ รวมทั้งสามารถขี่จักรยานไปบนทางเดินแคบๆ ลาดเอียง และคดเคี้ยวได้ อีกทั้งเมื่อเดินทางจนสิ้นสุดเส้นทางแล้วก็สามารถหยุดเคลื่อนไหวได้เองด้วย ส่วนหุ่นยนต์ฮิวมานอยด์ (Humanoid) แบบตั้งโต๊ะเป็นผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาโดยสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการอุตสาหกรรมแห่งชาติญี่ปุ่น (AIST) และถ่ายทอดให้แก่บริษัทเอกชนผลิตในเชิงพาณิชย์ หนึ่งในนั้นคือนายจิน ซาโต้ ผู้บริหารสูงสุดของ บ.เจเอส -โรโบติกส์ อิงค์ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเขาได้สร้างหุ่นยนต์ฮิวมานอยด์ขนาดเท่าคนจริง มูลค่า 10.8 ล้านบาท ซึ่งรับคำสั่งให้ทำงาน เปิดประตูหรือหยิบของจากตู้เย็นโดยใช้เสียงสั่ง ทั้งนี้ เขายังได้พัฒนาหุ่นยนต์ฮิวมานอยด์รุ่นเอชอาร์พี -2 เอ็ม โคโรเม็ต (HRP -2M Choromet) หรือฮิวมานอยด์ตั้งโต๊ะ มูลค่า 200,000 บาท มาจัดแสดงด้วย โดยย่อขนาดมาจากฮิวมานอยด์ขนาดเท่าคนจริง ทำงานแบบทันท่วงที (เรียลไทม์) ด้วยการเขียนคำสั่งในโปรแกรมลินุกซ์ (Linux) เช่นเดียวกัน แต่ยังต้องมีสายไฟต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์เพื่อรับคำสั่งโดยตรง ฮิวมานอยด์ตั้งโต๊ะสร้างขึ้นเพื่อใช้ในงานศึกษาและวิจัย สูง 37 ซม. หนัก 1.5 กก.ติดตั้งเซ็นเซอร์ไว้ตามจุดต่างๆ ของหุ่นยนต์ ทั้งเซ็นเซอร์วัดการเร่งความเร็ว เซ็นเซอร์วัดมุมองศาบริเวณลำตัว และเซ็นเซอร์วัดแรงกระทบที่ฝ่าเท้า 2 ข้าง สามารถประกอบกิจกรรมต่างๆ ได้ อาทิ ต่อยมวย เตะ ต่อสู้ นอน นั่ง ยืน เดิน และทำท่าสะพานโค้ง ฯลฯ นอกจากนี้แล้ว ในส่วนนิทรรศการจากประเทศญี่ปุ่นยังได้นำหุ่นยนต์แมวน้ำ "พาโร" เพื่อการบำบัด และเก้าอี้รถเข็นอัจฉริยะ มาร่วมจัดแสดงในงานด้วย ผู้สนใจสามารถเยี่ยมชมการแสดงของกองทัพหุ่นยนต์ของญี่ปุ่นได้ภายในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์ฯ ถึงวันที่ 19 ส.ค.นี้ ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค บางนา โดยการแสดงกองทัพหุ่นยนต์จะจัดแสดงเป็นช่วงๆ ตลอดทั้งวัน ทั้งช่วงเช้าและช่วงบ่ายวันละ 6 รอบการแสดง

ญี่ปุ่น เผยโฉมหุ่นยนต์นางแบบ HRP-4C มาตีตลาดแคทวอล์ก



หลังจากได้ดูการเรียนการสอนของ หุ่นยนต์คุณครู Saya กันไปแล้ว คราวนี้ญี่ปุ่น เผยโฉมหุ่นยนต์สาวตัวล่าสุด "HRP-4C" หุ่นยนต์นางแบบ เป็นการอุ่นเครื่องก่อนที่หุ่นยนต์สาวตัวนี้จะไปโพสต์ท่าทางบนแคทวอล์ก ในกรุงโตเกียว
สาวน้อยหน้าม้าคนเนี่ย เธอเพิ่งแสดงตัวเป็นครั้งแรกให้มนุษย์ได้เชยชม เธอเป็นหุ่นยนต์เสมือนมนุษย์ที่ทำเลียนแบบหญิงสาวชาวญี่ปุ่น หุ่นยนต์ตัวนี้สูง 158 เซ็นติเมตร ซึ่งเป็นส่วนสูงโดยเฉลี่ยของผู้หญิงญี่ปุ่นอายุระหว่าง 19-29 ปี แต่หนักเหมือนกับสาวผอมบางร่างน้อยเพียงแค่ 43 กิโลกรัม แถมรวมแบตเตอร์รี่แล้วด้วยนะเนี่ย
เธอถูกสร้างมาเพื่อให้เป็นหุ่นยนต์นางแบบ และจากการทำงานของมอเตอร์ควบคุมการเคลื่อนไหว 40 ตัว และเซ็นเซอร์อีกหลายๆ ตัว ที่อยู่ในตัวเธอ เพื่อให้เธอสามารถเลียนแบบการเคลื่อนไหวของนางแบบที่มีเลือดเนื้อจริงๆ โดยหุ่นยนต์ตัวนี้สามารถแสดงได้หลากหลายอารมณ์ เช่น โกรธ สนุก และประหลาดใจ ผ่านคำสั่งจากอุปกรณ์บลูธูท
ซึ่งทางสถาบันเจ้าของนวัตกรรมชิ้นนี้เผยว่า ใช้งบประมาณพัฒนาหุ่นยนต์ตัวนี้ไปมากกว่า 200 ล้านเยน หรือราว 72 ล้านบาท โดยหุ่นยนต์ตัวนี้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมด้านบันเทิงเป็นหลัก แต่ตอนนี้ยังไม่มีการวางขายในตลาด
ทั้งนี้สาวน้อยหน้าม้า "HRP-4C" เธอจะมาทักายปรากฏตัวให้ได้เห็นโฉมหน้ากันอีกครั้ง ในงานโตเกียวแฟชั่นโชว์ในวันที่ 23 มีนาคมนี้

'หุ่นยนต์ในญี่ปุ่น'



ที่ ห้องทดลองวิทยาศาสตร์ของเมจิ ยูนิเวอร์ซิตี้ ประเทศญี่ปุ่น นายจุนอิจิ ทาเคโนะ และเพื่อนนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ กำลังสร้างใบหน้าหุ่นให้แสดงความรู้สึกออกมา 6 อย่าง คือ โกรธ กลัว เศร้า สุข ตกใจและขยะแขยงเมื่อหุ่นยนต์ถูกป้อนข้อมูลของกลุ่มคำ ก็จะแสดงสีหน้าถึงคำนั้นๆ เช่น คำว่า "สงคราม" หุ่นก็จะแสดงสีหน้า "ขยะแขยง" และ "กลัว" เมื่อพูดคำว่า "รัก" หุ่นยนต์ก็จะยิ้มบางๆนายทาเคโนะ กล่าวว่า เมื่อหุ่นยนต์ต้องอาศัยอยู่ร่วมกับมนุษย์ หุ่นยนต์ก็ต้องรู้จักการเข้าสังคม จึงจำเป็นต้องเข้าใจและรู้สึกถึงอารมณ์นั้นแม้ว่าหุ่นยนต์จะยังไม่เข้าถึงอารมณ์ที่มีความซับซ้อน แต่ญี่ปุ่นก็เข้าไปใกล้สังคมแห่งอนาคตที่มนุษย์จะอยู่ร่วมกันกับหุ่นยนต์ เต็มที เช่น ญี่ปุ่นมีหุ่นยนต์ต้อนรับแขกที่มายังบริษัทต่างๆ มีหุ่นยนต์ทำซูชิ หุ่นยนต์ปลูกข้าว หุ่นยนต์ดูแลคนชราแล้วในสังคมของชาวญี่ปุ่น การปฏิรูปหุ่นยนต์นับเป็นสิ่งสำคัญ เพราะมากกว่า 1 ใน 5 ของประชากรเป็นคนชราอายุมากกว่า 65 ปี ญี่ปุ่นจึงเร่งโครงการ "ฮิวแมนนอยด์โรบอต" หรือ "มนุษย์หุ่นยนต์" ออกมาหลายโครงการ การพัฒนาเทคโนโลยีของหุ่นยนต์ทำให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่ โดยเมื่อพ.ศ. 2549 อุตสาหกรรมหุ่นยนต์มีมูลค่า 5,200 ล้านเหรียญ คาดว่าพ.ศ. 2553 จะเพิ่มเป็น 26,000 ล้านเหรียญ และพ.ศ. 2568 จะเป็น 70,000 ล้านเหรียญที่ผ่านมา ชาวญี่ปุ่นจะมีแง่คิดที่ดีต่อหุ่นยนต์ โดยเห็นว่ามันเป็นเพื่อน มากกว่าจะเป็นหุ่นยนต์ที่มีความรุนแรง ออกมาทำลายล้างอย่างที่ชาวตะวันตกนำมาสร้างในหนังไซน์ฟิกชั่น ด้านนายเดเมี่ยน ธง เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ด้านเทคโนโลยี จากธนาคารแม็กไควรี กรุงโตเกียว กล่าวว่า "แม้ชาวญี่ปุ่นยังถามตัวเองว่า ต้องการให้หุ่นยนต์เข้ามาอยู่ร่วมบ้านไหม แต่ก็ต้องไม่ลืมว่า ญี่ปุ่นเป็นประเทศเดียวในโลกที่มีชักโครกไฟฟ้า ซึ่งต่อไปผมเห็นว่า จะต้องมีการปฏิรูปหุ่นยนต์เกิดขึ้นแน่นอน"นอกจากนี้ โรดแม็ปเทคโนโลยีแห่งชาติของกระทรวงพาณิชย์ประจำปี 2550 ยังระบุว่า ภายในพ.ศ. 2568 จะต้องมีหุ่นยนต์ในภาคอุตสาหกรรม 1 ล้านตัว โดยหุ่นยนต์ 1 ตัว สามารถทำงานแทนมนุษย์ได้ 10 คน หุ่นยนต์ 1 ล้านตัวคือคน 10 ล้านคน นับเป็นคนวัยทำงาน 15% ในปัจจุบัน

หุ่นยนต์ญี่ปุ่นเจ๋ง! หยิบหลอดน้ำส่งให้ได้






ญี่ปุ่นคิดหุ่นยนต์ดูแลคนแก่ เด็ก คนพิการ และช่วยงานในบ้าน เจ๋งขนาดหยิบหลอดน้ำส่งให้ได้








สำนักข่าวเอพีรายงานว่า ศาสตราจารย์ ไซเจกิ ซูกาโน คณะวิศวกรรมศาสตร์ แผนกการ ประดิษฐ์เครื่องจักรกลแห่งมหาวิทยาลัยวาเซดะ ที่ญี่ปุ่น สาธิตการทำงานของหุ่นยนต์เลียนแบบมนุษย์ ทเวนดี้-วัน (Twendy-one) ที่ห้องทดลองวาซิดะ ในกรุงโตเกียว โดยหุ่นยนต์ดังกล่าวถูกออกแบบมาเพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุ คนพิการ เด็ก และช่วยเหลืองานในบ้าน
สำหรับ Twendy-one ถูกออกแบบให้มี 4 นิ้วเพื่อช่วยในการหยิบจับ สามารถคีบขนมปังใส่เครื่องปิ้ง พยุงผู้ป่วย หยิบหลอด และยกถาดอาหารเสิร์ฟได้ สามารถเคลื่อนไหวได้ 47 ท่าติดตั้งกล้อง CCD 2 ตัวเพื่อใช้ในการมองภาพเพื่อประมวลผลการหลบหลีกสิ่งกีดขวาง ใช้แบตเตอรี่ในการให้พลังงาน มีความสูง 150 เซนติเมตร หนัก 111 กิโลกรัม
.

หุ่นยนต์ญี่ปุ่น

อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ในประเทศญี่ปุ่นมีความเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา สมัยผมศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยเกียวโต เคยเรียนถามศาสตราจารย์ซูซูกิ ว่าเหตุใดทั้งๆที่มีญี่ปุ่นความเข้มแข็งทางเทคโนโลยีอย่างมาก จึงไม่สร้าง Space Shuttle ไปสำรวจอวกาศแข่งขันกับสหรัฐอเมริกาบ้าง ท่านก็เอ็ดผมทันทีเลยว่าในฐานะวิศวกรนั้นคิดจะทำอะไรนั้นต้องคำนึงผลลัพท์ผลิตภาพทางอุตสาหกรรม(Industrial Productivity)ด้วย ด้วยเหตุนี่กระมังครับ หุ่นยนต์ญี่ปุ่นส่วนใหญ่จึงถูกผลิตออกมาเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการแข่งขันสูงเมื่อเทียบกับประเทศต่างๆทั่วโลกในด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์ขั้นสูงเพื่อใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม ประเทศญี่ปุ่นยังเป็นรองจากประเทศสหรัฐอเมริกาและกลุ่มประเทศทางทวีปยุโรป ในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์เพื่อใช้ในสาขาอื่นๆนอกเหนือจากการใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น การผลิตพลังงานนิวเคลียร์ การวิจัยใต้ทะเล การป้องกันพิบัติภัย และการใช้หุ่นยนต์ช่วยทางการแพทย์ข้อมูลจาก World Technology Evaluation Center, Inc. (WTEC) ระบุว่า บริษัท FANUC เป็นบริษัทผู้นำในการผลิตหุ่นยนต์อุตสาหกรรมในญี่ปุ่น โดยครอง 17% ของตลาดหุ่นยนต์อุตสาหกรรมในประเทศญี่ปุ่น 16% ของตลาดในทวีปยุโรป และ 20% ของตลาดในทวีปอเมริกาเหนือ สำหรับบริษัทที่ผลิตหุ่นยนต์บริการในประเทศญี่ปุ่น ประกอบไปด้วยบริษัท Sony, Fujitsu และ Honda ซึ่งอุตสาหกรรมประเภทนี้มีการขับเคลื่อนโดยความต้องการของตลาดในการใช้หุ่นยนต์เพื่อความบันเทิง หุ่นยนต์เพื่อน และหุ่นยนต์ให้ความช่วยเหลือทั้งนี้ ข้อมูลจาก Japan External Trade Organization (JETRO) ในปี 2006 ยังได้ระบุว่า แนวโน้มตลาดหุ่นยนต์ของญี่ปุ่นที่จะมีการขยายตัวอย่างมาก คือตลาดหุ่นยนต์ที่สามารถช่วยงานคนงานสูงอายุและแม่บ้าน เนื่องจากอัตราการเพิ่มประชากรในประเทศญี่ปุ่นมีแนวโน้มลดลงอย่างรวดเร็ว ในอนาคตจึงคาดว่าจะมีช่วงหนึ่งที่โรงงานต่างๆจะขาดคนทำงาน และหุ่นยนต์ก็เป็นทางออกหนึ่งสำหรับปัญหานี้ นอกจากนี้ทาง JETRO ยังได้ให้ข้อมูลทางสถิติโดยแบ่งหุ่นยนต์เป็นสองประเภทใหญ่ๆคือ Interactive Robots กับ Manufacturing Robots ดังนี้1. Interactive Robotsทางรัฐบาลญี่ปุ่นตระหนักว่า บริษัทญี่ปุ่นจำนวนมากให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีมากกว่าการพัฒนาตลาดหุ่นยนต์ ในปัจจุบันในประเทศญี่ปุ่นมีหุ่นยนต์ที่สามารถโต้ตอบได้ (Interactive Robot) จำนวนมากที่สร้างขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพทางเทคโนโลยีของวิทยาการหุ่นยนต์ที่ล้ำหน้า โดยที่ไม่มีประโยชน์ทางรูปธรรมอย่างอื่นที่ชัดเจน เช่น ASIMO ของฮอนด้า เป็นต้น

Posts Tagged ‘หุ่นยนต์ไทย’

เฉยเชยจริงๆเลยครับต้องยอมรับว่าตกข่าวอย่างมากเพราะเมื่อพูดถึงหุ่นยนต์ ผมก็มักเห็นภาพ ASIMO ลอยมาแต่ไกลแถม version ล่าสุด ASIMO ก็สามารถวิ่งได้แล้วการวิ่งต่างจากเดินเร็ว ตรงที่ต้องขาลอยกลางอากาศพร้อมกันทั้งสองขามัวแต่ชื่นชมฝีมือต่างชาติ หารู้ไม่ ฝีมือคนไทยก็ใช่ย่อยแต่เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ผมก็ถึงบางอ้อ แม้จะไปบางมดก็ตามเอะ! ยังไง ไปบางมด หรือไปบางอ้อคืองี้ครับ สัปดาห์ที่แล้วมีโอกาสไปเยี่ยมสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (บางมด)สถาบันนี้ ซึ่งมีชื่อเล่นว่า FIBO เกิดจากลูกบ้าของ ดร.ชิต เหล่าวัฒนา ที่เลือกรับเงินเดือนไม่กี่พัน ทำงานสอน งานพัฒนาหุ่นยนต์ของคนไทย แทนที่จะไปรับเงินเดือนหลายหมื่นดอลลาร์ในต่างประเทศและวันนี้ ดูเหมือนหุ่นยนต์จาก FIBO แห่งนี้จะมีโอกาสไปแข่งในเวทีระดับโลกอีกครั้งที่ผมประทับใจคือ ชื่อหรือรุ่นของหุ่นยนต์ครับเพราะแทนที่จะเป็นภาษาอังกฤษ ดูอินเตอร์ๆแต่ทีมงานกลับเลือกใช้ชื่อที่ “ไทยมากๆ” นับตั้งแต่ “ส้มจุก” หุ่นยนต์ตัวแรก ที่ขนาดเท่าคน และมีเพียงครึ่งตัวล่าง ที่ตอนนั้นเน้นทำวิจัยการทรงตัวเป็นอันดับแรกหลังจากนั้น ก็หันมาพัฒนาหุ่นยนต์ Humaniod (คือรูปร่างคล้ายมนุษย์) ในขนาดเล็กลงในชื่อ “ใจดี” “จี๊ด” “กาละแม” และรุ่นล่าสุดชื่อ “พอดี” “ใจดี” หนัก 3.3 กิโลกรัม สูง 45 เซ็นติเมตร เคยเข้าแข่งขัน [...]

ซีทีเอเชียฯเล็งส่งออกหุ่นยนต์ไทย

ผู้ผลิตหุ่นยนต์ไทย ใจถึง ซีที เอเชีย โรบอร์ต เผยอีก 3 ปี เตรียมพาหุ่นยนต์ดูแลผู้สูงอายุไทยเจาะตลาดญี่ปุ่น
นายเฉลิมพล ปุณโณทก ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ซีที เอเชีย โรบอร์ติกส์ ผู้ผลิตหุ่นยนต์เพื่อการพาณิชย์ เปิดเผยว่า แผนการตลาดในระยะยาวของบริษัทภายใน 3 ปี คือ เตรียมส่งออกหุ่นยนต์สำหรับดูแลผู้สูงอายุไปตลาดญี่ปุ่น เนื่องจากเห็นว่าในอนาคตสัดส่วนประชากรสูงอายุของญี่ปุ่นจะเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีสัดส่วนในตลาดหุ่นยนต์โลกมากเป็นอันดับหนึ่ง ถึง 46% ซึ่งเป็นตลาดที่มีศักยภาพมาก ต่างจากประเทศไทยที่ตลาดหุ่นยนต์ยังไม่เติบโตเท่าที่ควร และการดูแลผู้สูงอายุคนไทยจะพึ่งคนงานหรือแม่บ้านในการดูแลมากกว่า
นอกจากนี้ ในช่วงปลายปี 2553 บริษัทมีแผนผลิตหุ่นยนต์เชิง เอนเตอร์เทนเมนต์ ชื่อ "Interaction Endutainment Robot" ที่เน้นให้ความรู้และความบันเทิงแก่มนุษย์ อย่างหุ่นยนต์สอนหนังสือ หรือให้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ โดยจะ เห็นหุ่นยนต์ประเภทนี้ตามศูนย์วิทยาศาสตร์ เช่น ทีเค พาร์ค
นายเฉลิมพล กล่าวต่อว่า บริษัทได้เปิดตัวหุ่นยนต์ต้นแบบตัวแรกของประเทศไทย ชื่อ "น้องดินสอ" โดยรุ่นแรกจะเป็นหุ่นยนต์ที่ใช้ เสิร์ฟอาหาร โดยเจาะกลุ่มเป้าหมาย ลูกค้าที่ต้องการใช้งานหุ่นยนต์ในการให้ความบันเทิงและสร้างสีสัน โดยหุ่นยนต์รุ่นดังกล่าว มีต้นทุน การผลิตประมาณตัวละ 3 ล้านบาท
ปัจจุบันนี้ลูกค้ารายแรก ของบริษัท คือ บริษัท เอ็มเค เรสเตอรอง ที่ลงนามสั่งซื้อหุ่นยนต์ไปใช้เสิร์ฟอาหารจำนวน 10 ตัว ซึ่งจะให้บริการหมุนเวียนตามสาขาต่างๆ ของเอ็มเคกว่า 300 สาขา ราคาประมาณตัวละ 1 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าหุ่นยนต์รุ่นนี้จะเริ่มให้บริการได้ประมาณไตรมาส 2 ของ ปีหน้า
นอกจากนี้ช่วงกลางปีหน้ายังมีแผนจะนำ "น้องดินสอ" ไปโชว์ตัวในงานโรบอต เอ็กซ์โป ที่ประเทศญี่ปุ่น เพื่อทำให้เป็นที่รู้จักในต่างประเทศอีกด้วย
ทั้งนี้ ในปี 2562 คาดว่า ทุก ครัวเรือนในประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา จะมีหุ่นยนต์ประจำบ้าน และอีกไม่ เกิน 20 ปีข้างหน้า ตลาดหุ่นยนต์โลกจะใหญ่กว่าตลาดรถยนต์ และคาดว่าปี 2568 ภาพรวมของตลาดหุ่นยนต์จะมีมูลค่าถึง 2.19 ล้านล้านบาท

ฟีโบ้นำทีมศึกษายุทธศาสตร์หุ่นยนต์ไทย

จากกระแสความตื่นตัวในเทคโนโลยีทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ และความสำเร็จของเยาวชนที่ได้รับรางวัลจากการเข้าร่วมแข่งขันประดิษฐ์หุ่นยนต์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้มอบหมายให้สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนามจัดทำร่าง “ยุทธศาสตร์หุ่นยนต์ไทย” เพื่อใช้สำหรับกำหนดทิศทาง เป้าหมาย กลยุทธ์และกิจกรรมต่างๆในการสร้างความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานในด้านวิทยาการหุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติ เพื่อส่งเสริมให้มีศักยภาพทางด้านการวิจัย พัฒนา และประยุกต์ใช้วิทยาการหุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติ ได้อย่างเหมาะสมกับความต้องการของประเทศ ตลอดจนทำให้มีความสามารถทางการแข่งขันทางด้านการวิจัยพัฒนา และประยุกต์ใช้วิทยาการหุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติกับนานาประเทศ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพื่อเพิ่มผลผลิตและเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น โดยเริ่มกิจกรรมนำร่องในระยะเวลา 5 ปีระหว่างปี พ.ศ. 2551 – 2555 คณะนักวิจัยประกอบด้วย
สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีรศ.ดร.สยาม เจริญเสียง ประธานโครงการ รศ.ดร.ชิต เหล่าวัฒนา ที่ปรึกษาโครงการดร.วรพจน์ อังกสิทธิ์ นักวิจัย ดร.อาบทิพย์ ธีรวงศ์กิจ นักวิจัยคุณพีรศิลป์ สันธนะพันธ์ ผู้ช่วยนักวิจัยคุณคมกฤช ทิพย์เกษร ผู้ช่วยนักวิจัยคุณอนุสรา มีชัย ผู้ประสานงานคุณวนิดา อิ่มทอง ผู้ประสานงานคุณณัฏฐา รักการดี ผู้ประสานงาน
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือผศ.ดร.พูลศักดิ์ โกษียาภรณ์ นักวิจัย
งานที่ได้ดำเนินการในส่วนแรกเป็นการศึกษาข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 – ปัจจุบัน เพื่อให้ทราบสถานภาพที่แท้จริงของประเทศเกี่ยวกับวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติด้านต่างๆได้แก่ ด้านการศึกษา เป็นการสำรวจหลักสูตรที่มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ในระดับอาชีวศึกษา และระดับอุดมศึกษา พร้อมจำนวนบุคลากรที่ผลิตได้เพื่อรองรับสายงานทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ด้านการวิจัยและพัฒนา ได้ทำการสำรวจงานวิจัยต่างๆทั้งหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ และส่วนสุดท้ายทางด้านการประยุกต์ใช้งาน การนำหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติไปใช้ทั้งทางอุตสาหกรรม ทางการแพทย์ ทางการทหาร และทางการศึกษา สำหรับการศึกษาทางด้านจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค (SWOT) ทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติของประเทศ รวมทั้งการวางกลยุทธ์ แผนปฏิบัตการ และกิจกรรมเพื่อพัฒนาประเทศทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ จึงได้ดำเนินการจัดประชุมระดมสมองผู้เชี่ยวชาญ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ในส่วนของภาคการศึกษา ภาคอุตสาหรรม และการวิจัย จำนวนทั้งสิ้น 3 ครั้ง

หุ่นยนต์ไทยสมองไหลเสียของ

“องค์การสหประชาชาติเคยประเมินไว้ว่า ปลายปี 2550 หุ่นยนต์จะยิ่งมีบทบาทสูง ทั้งในภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรม ทั่วโลกจะมีหุ่นยนต์รูปแบบต่าง ๆ ในบ้านราว 4.1 ล้านตัว ซึ่งแม้ไทยจะยังมีการใช้งานหุ่นยนต์ไม่สูงเท่าหลายประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่ก็จำเป็นต้องเรียนรู้เรื่องหุ่นยนต์เพื่อให้ทันโลก ซึ่งในการเรียนรู้ก็ต้องพึ่งเยาวชนคนรุ่นใหม่ โดยการสนับสนุนของคนรุ่นเก่า” ...เป็นเนื้อความส่วนหนึ่งจากสกู๊ปเกี่ยวกับ “หุ่นยนต์” ที่ “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” นำเสนอไปตั้งแต่ต้นเดือน ก.ย. 2550 และแล้วเมื่อเร็ว ๆ นี้ประเทศไทยก็ได้ชื่อเสียงด้านหุ่นยนต์อีก จาก “ความสามารถของเยาวชนไทย” นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ที่คว้าแชมป์โลกหุ่นยนต์กู้ภัย สมัยที่ 4 และนักศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คว้าแชมป์โลกหุ่นยนต์เตะฟุตบอลขนาดเล็ก สมัยที่ 2 ขณะที่นักศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รางวัลที่ 3 ซึ่งนี่มิใช่ครั้งแรก ที่ผ่านมาเยาวชนไทยก็ทำได้มาแล้วหลายครั้ง นี่น่าจะถือเป็นก้าวย่างที่สำคัญของ “หุ่นยนต์ไทย” แต่เอาเข้าจริงเราจะก้าวไปได้ถึงไหนยังต้องลุ้น ?!? ทั้งนี้ ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ นายกสมาคมวิชาการหุ่นยนต์แห่งประเทศไทย ให้สัมภาษณ์ไว้ประมาณว่า... “วันนี้ศักยภาพคน คือตัวเด็กไทย เดินไปได้ไกลและเป็นที่ยอมรับแล้ว แต่ปัญหาคือยังขาดการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถ้าไม่มีการส่งเสริมจริงจัง ไม่แน่ว่าสักวันเข็มขัดแชมป์โลกของไทยก็อาจกระเด็นหลุดจากมือไป เพราะทุกประเทศต่างก็หวังตำแหน่งนี้เช่นกัน” แต่กับเรื่องนี้ลึก ๆ แล้วคงมิใช่แค่เรื่องรักษาแชมป์ ในไทยมีสถาบันอุดมศึกษาที่เปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมเมคคา ทรอนิกส์ ที่เกี่ยวกับ “หุ่นยนต์” ในระดับปริญญาตรี มากกว่า 10 แห่งขึ้นไป ถือว่ามีการเรียนการสอนเรื่อง “หุ่นยนต์” แพร่หลายไม่น้อยเลย ขณะที่ระดับนโยบายของประเทศ หุ่นยนต์ก็มิใช่เรื่องใหม่แล้ว เคยเป็นหนึ่งในวาระแห่งชาติของแผนด้านการพัฒนา เคยถูกเสนอเข้าที่ประชุม ครม. เมื่อ 15 ม.ค. 2551 ในชื่อ “แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ” ซึ่งมีแนวคิดจาก “แผนยุทธศาสตร์หุ่นยนต์ไทย” เพื่อพัฒนาศักยภาพให้เหมาะสมกับความต้องการในภาคผลิตและภาคบริการ อาทิ หุ่นยนต์อุตสาหกรรม หุ่นยนต์ทางการทหาร หุ่นยนต์ทางการแพทย์ รวมถึงด้านอื่น ๆ โดยมีการกำหนด 5 ด้านหลักคือ... 1.การพัฒนาบุคลากร 2.การพัฒนาเทคโนโลยี 3.การถ่ายทอดเทคโนโลยี 4.การพัฒนาอุตสาหกรรม 5.การพัฒนานโยบาย ณ วันนี้เรื่องความเก่งด้านหุ่นยนต์ของเยาวชนไทย...มีการแสดงออกมาเด่นชัดแล้ว หากแต่ผลประโยชน์ที่ประเทศไทยโดยรวมจะได้รับจากศาสตร์ด้านหุ่นยนต์นี้...ดูจะยังไม่ชัดเจน ?!? ดร.กว้าน สีตะธนี รองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ระบุกับ “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” ว่า... เรื่องหุ่นยนต์หรือที่นักวิชาการเรียกว่าระบบอัตโนมัตินี้เป็นยุทธศาสตร์ด้าน การพัฒนาที่สำคัญของหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก ซึ่งต่างก็พยายามพัฒนาศักยภาพให้ก้าวล้ำเหนือกว่าประเทศคู่แข่ง และสำหรับประเทศไทย ในระดับบุคลากร จากผลงานของเยาวชนไทยที่ปรากฏก็เป็นเครื่องบ่งชี้ว่าประเทศไทยมีศักยภาพสูงด้านทรัพยากรมนุษย์ ที่พร้อมจะรองรับเทคโน โลยีเกี่ยวกับหุ่นยนต์ได้แล้ว ที่สำคัญประเทศไทยเวลานี้ยังถือว่ามีความพร้อมด้านนี้มากกว่าประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านใกล้ไทย แต่ปัญหาคือ ขณะนี้ทัศนคติผู้ประกอบการและสถาบันการศึกษายังไม่สอดคล้องกัน ผู้ประกอบการและนักลงทุนมีความกังวลใจในเรื่องความพร้อมของบุคลากร จนไม่กล้าที่จะนำเข้าและลงทุนเทคโนโลยีขั้นสูง “เยาวชนไทยเมื่อเรียนจบด้านนี้แล้วกลับไม่มีงานให้ทำ หรือไม่มีสถานประกอบการรองรับ เนื่องจากไม่ค่อยมีการลงทุนเทคโนโลยีเหล่านี้ ทำให้หลายคนจำเป็นต้องไปทำงานกับบริษัทข้ามชาติ หรือออกไปทำงานในต่างประเทศ ไทยจึงประสบปัญหาสมองไหลออกนอกประเทศอย่างน่าเสียดาย” รอง ผอ.เนคเทค ระบุอีกว่า... ไทยมีศักยภาพที่จะเป็นศูนย์กลางด้านหุ่นยนต์ในภูมิภาค แต่สำคัญคือ “รัฐต้องสนับสนุนเรื่องนี้ด้วยตัวเอง ด้วยท่าทีที่ชัดเจน เพื่อตอกย้ำและเรียกความเชื่อมั่นของนักลงทุน ว่าประเทศไทยพร้อมรองรับเทคโนโลยีระดับสูง” ซึ่งปัจจุบันทั่วโลกมีการใช้ระบบอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์ในแวดวงต่าง ๆ โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม เพิ่มสูงขึ้น เพราะสามารถลดปัญหาความผิดพลาด ลดค่าใช้จ่าย รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าได้มากขึ้น แต่สำหรับไทยการลงทุนหรือใช้งานเทคโนโลยีนี้ยังเกิดขึ้นน้อย ทั้งนี้ ถ้าวงจรเหล่านี้เกิดขึ้นในไทยจะเกิดมูลค่าเพิ่มกับประเทศมหาศาล นอกจากนี้ยังจะเป็นการยกระดับแรงงานไทยให้สูงขึ้น ช่วยแก้ ปัญหาการย้ายฐานการผลิตของอุตสาหกรรม ซึ่งสิ่งที่จะตามมาคือ รายได้จากภาคการผลิต รายได้จากภาคแรงงาน รวมถึงองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่ไทยจะได้จากการใช้งานเทคโนโลยีเหล่านี้ “ผลบวกจะเกิดกับประเทศไทยมหาศาล อันดับแรก...ประเทศไทยจะไม่สมองไหล เมื่อเด็กจบมาแล้วมีงานรองรับ องค์ความรู้เหล่านี้ก็จะไม่ไหลออกไปไหน อันดับสอง...ภาคการผลิตก็สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพหรือใช้เทคโนโลยีสูง ๆ ได้มากขึ้น เมื่อผลิตสินค้าที่มีราคามากขึ้น รายได้ของประเทศก็ย่อมเพิ่มขึ้นตาม ซึ่งนี่เป็นผลพวงที่เราจะได้จากเทคโนโลยีหุ่นยนต์” ...ดร.กว้านระบุ วันนี้...คนไทยรุ่นใหม่เก่งเรื่อง “หุ่นยนต์” ไม่แพ้ชาติไหน แต่...ยังไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ความเก่งนี้จะถูกใช้อย่างคุ้มค่า ??.

วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

"บิ๊กด๊อก" หุ่นยนต์สงครามสำหรับแบกสัมภาระทหาร

ดูข้อมูลเทคโนโลยี "หุ่นยนต์ 4 ขา" รุ่นนี้ของสหรัฐอเมริกาแล้วก็น่าเสียดาย ที่ฝ่ายผู้พัฒนาตั้งเป้าไว้ว่าจะนำไปใช้ใน "สงคราม" เพราะถ้านำมาใช้ช่วยเหลือผู้พิการหรือผู้สูงอายุ คงจะมีประโยชน์มากกว่าไม่รู้กี่เท่า! นั่นก็คือหุ่นยนต์ 4 ขา ที่มีชื่อรหัสโครงการ "บิ๊กด๊อก" (หมาใหญ่) โครงสร้างออกแบบคล้ายกับสุนัขตัวใหญ่ยักษ์ หนัก 75 กิโลกรัม เป็นผลงานการพัฒนาร่วมกันระหว่างบริษัทเอกชน "บอสตันไดนามิกส์" กับ "ดาร์ปา" หน่วยงานวิจัยอาวุธไฮเทคของกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา วัตถุประสงค์การผลิตก็เพื่อใช้เป็น "ผู้ช่วยแบกเครื่องหลัง-สัมภาระ" ให้กับทหารอเมริกันยามออกสู่สนามรบ ข้อมูลเบื้องต้นเท่าที่เปิดเผยสู่สาธารณะระบุว่า หุ่นยนต์หมาใหญ่แบกบรรทุกสัมภาระได้หนักสูงสุดประมาณ 54 กิโลกรัม ซึ่งถือว่าเพียงพอ เนื่องจากเครื่องหลังทหารโดยทั่วไปจะหนัก 30 กิโลกรัมเศษๆ
"ขากล" ทั้ง 4 ข้างของ "บิ๊กด๊อก" เคลื่อนไหวได้ใกล้เคียงกับขาของสัตว์ที่มีชีวิตจริงๆ นอกจากนั้น ตามข้อต่อต่างๆ ของขากลยังมีระบบดูดซับแรงสั่นสะเทือน สามารถย่ำบุกตะลุยผ่านสภาพภูมิประเทศทุรกันดาร เช่น มีหล่มโคลน หรือมีหิมะปกคลุม ภายใน "ลำตัว" ของหุ่นยนต์สงครามตัวนี้ติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่ควบคุมระบบการทำงานต่างๆ เช่น
การจ่ายไฮดรอลิก การควบคุมแรงดันของขากล ความเร็วการเคลื่อนที่ ระบบชาร์จไฟ รวมถึงเซ็นเซอร์ตรวจจับสิ่งกีดขวาง อย่างที่เกริ่นไว้ข้างต้น ด้วยเทคโนโลยีดีๆ แบบนี้ ถ้ารัฐบาลสหรัฐคิดพัฒนา "บิ๊กด๊อก" ขึ้นมาเพื่อใช้มันเป็น "ผู้ช่วย" คนพิการหรือผู้สูงอายุแบกสิ่งของสัมภาระต่างๆ แล้วล่ะก็ โลกเราคงน่าอยู่ขึ้นอีกเยอะ!


พัฒนาหุ่นยนต์เพื่อการทำสงคราม

นักวางแผนยุทธศาสตร์ด้านการทหารของสหรัฐฯ และนักออกแบบหุ่นยนต์ ร่วมมือกันพัฒนาหุ่นยนต์เพื่อการทำสงคราม ซึ่งคาดว่าจะสามารถพบเห็นได้เป็นครั้งแรกในสงครามระหว่างสหรัฐฯกับอิรัก หลังจากที่กองทัพสหรัฐฯศึกษาบทเรียนต่างๆจากสงครามในอัฟกานิสถานมาแล้ว




บริษัทพัฒนาหุ่นยนต์ในสหรัฐฯ รวมทั้งบริษัท "ไอโรบ็อต" ได้พัฒนาหุ่นยนต์ที่มีความสามารถในการสำรวจพื้นที่ทุรกันดาร รวมทั้งสามารถทดสอบพื้นที่ที่มีการใช้อาวุธเคมีชีวภาพ ขณะเดียวกัน ยังสามารถเรียนรู้เพื่อแก้ไขปัญหาให้กับตัวเอง เช่น การพลิกตัวกลับเมื่อล้มคว่ำ หรือการติดตามหาหนทางกลับสู่ฐานทัพเองหากสูญเสียการติดต่อสื่อสารกับฐาน







เจ้าหน้าที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ผู้รับผิดชอบการพัฒนาหุ่นยนต์เพื่อการทหารของสหรัฐฯเชื่อว่า การใช้หุ่นยนต์ทำสงครามแทนมนุษย์ จะช่วยลดการสูญเสียชีวิตของทหาร โดยกองทัพสหรัฐฯเคยส่งหุ่นยนต์ที่มีชื่อว่า "แพ็กบ็อต" ของบริษัทไอโรบ็อต เข้าปฏิบัติการทางทหารในอัฟกานิสถานมาแล้ว ก่อนหน้าปฏิบัติการสงครามในอัฟกานิสถาน ทหารสหรัฐฯเคยใช้หุ่นยนต์เพื่อการค้นหาและช่วยเหลือ รวมทั้งเก็บกู้วัตถุระเบิด แต่โครงการพัฒนาหุ่นยนต์ดังกล่าวยังคงถูกมองว่าเป็นโครงการระยะยาว เพราะกองทัพสหรัฐฯหันไปให้ความสำคัญกับการพัฒนาเครื่องบินปราศจากคนขับ ซึ่งถือเป็นหุ่นยนต์บินที่พัฒนาขึ้นง่ายกว่าหุ่นยนต์บนภาคพื้นดิน
ปัจจุบัน กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯได้ขอให้ไอโรบ็อตพัฒนาโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ หรือเอไอขึ้น เพื่อปรับปรุงความสามารถของ "แพ็กบ็อต" เพื่อให้มันสามารถเคลื่อนตัวได้คล้ายกับรถถังขนาดเล็ก ปีนบันได และปฏิบัติภารกิจใต้น้ำได้ลึก 3 เมตร โดยนักสังเกตการณ์คาดว่าหุ่นยนต์ "แพ็กบ็อต" รุ่นใหม่ จะปรากฏตัวให้เห็นในสงครามอิรักอย่างเต็มรูปแบบ.


อ้างอิงจาก http://www.jobpub.com/articles/showarticle.asp?id=94







วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

หุ่นยนต์โครงสร้างเจ็ดขา


ปัจจุบันนี้หุ่นยนต์มีบทบาทอย่างมากในด้านการสำรวจพื้นที่ที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ เช่น การสำรวจอวกาศ พื้นที่ที่มีกับระเบิด หรือพื้นที่ที่มีสารกัมมันตรังสี เป็นต้น ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวส่วนมากเป็นพื้นที่ที่ไม่สามารถคาดหมายได้ว่าจะมีลักษณะเช่นใดและอาจเต็มไปด้วยสิ่งกีดขวาง หุ่นยนต์ที่ใช้ล้อในการเคลื่อนที่จึงไม่เหมาะสมในการสำรวจ ข้อเสียของหุ่นยนต์ที่เคลื่อนที่ด้วยล้อนั้นโดยส่วนใหญ่มีข้อจำกัดคือไม่สามารถเคลื่อนที่ข้ามสิ่งกีดขวางที่มีความสูงมากกว่าเส้นผ่านศูนย์กลางของล้อได้และมีโอกาสล้มคว่ำมากกว่าหุ่นยนต์ที่เคลื่อนที่ด้วยขา หุ่นยนต์เคลื่อนที่ด้วยขามีความเหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศมากกว่า เนื่องจากขาที่รองรับตัวหุ่นยนต์ทำให้หุ่นยนต์สามารถรักษาระดับของตัวหุ่นยนต์ให้ขนานกับพื้น และสามารถตัดหรือลดผลกระทบของภูมิประเทศที่มีต่อตัวหุ่นยนต์ได้ นอกจากนี้หุ่นยนต์ที่เคลื่อนที่ด้วยขามีลักษณะเฉพาะคือ การเคลื่อนที่แบบค่อยเป็นค่อยไป (incremental motion) ในทิศทางใดก็ได้ ซึ่งทำให้สามารถทำวางแผนการเคลื่อนที่ได้ง่ายขึ้น

ศูนย์ปฏิบัติการพัฒนาหุ่นยนต์ภาคสนาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีได้ออกแบบและสร้างหุ่นยนต์โครงสร้างเจ็ดขา : Frame Walker ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้หุ่นยนต์ดังกล่าวเป็นหุ่นยนต์ต้นแบบเพื่อดำเนินการวิจัย พัฒนาเทคโนโลยีทางด้านหุ่นยนต์เคลื่อนที่โดยใช้ขา โดยงานวิจัยพื้นฐานที่จะใช้หุ่นยนต์ดังกล่าวเป็นฐานในการทดลองเรื่องความสามารถในการเคลื่อนที่เชิงปริมาณ (quantification of mobility) โดยอาศัยการวิเคราะห์ความแคล่วคล่อง (dexterity) เป็นหลัก

หุ่นยนต์โครงสร้างเจ็ดขา (Frame Walker) โดยเป็นหุ่นยนต์ที่เคลื่อนที่ด้วยขาแบบขาตั้งฉากทำให้สามารถรักษาระดับของตัวหุ่นได้ Frame walker ประกอบด้วยสอง sub frame คือ body frame มีสี่ขา และ T-frame มีสามขา แต่ละขามีหนึ่งองศาอิสระเป็นแบบข้อพริสเมติคเคลื่อนที่ขึ้นและลงในแนวดิ่งเท่านั้น แต่ละขาของหุ่นยนต์ติดตั้งลิมิตสวิตช์เพื่อส่งสัญญาณควบคุมการเคลื่อนที่ของขาเมื่อเคลื่อนที่ลงถึงพื้นและเคลื่อนที่ขึ้นและป้องกันไม่ให้ขาเคลื่อนที่เกินระยะที่กำหนด (joint limit) ตัว body frame มีสององศาอิสระในการเคลื่อนที่บนระนาบ ประกอบด้วยข้อพริสเมติคใช้ในการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์ให้ได้ระยะทางที่ต้องการและข้อหมุนสำหรับหมุนตัวหุ่นยนต์ไปในทิศทางที่ต้องการ ดังนั้นหุ่นยนต์ Frame Walker จึงมีเก้าองศาอิสระ นั่นคือขาทั้งเจ็ดจะเป็นจุดรองรับและรักษาระดับของตัวหุ่นยนต์ ส่วน body frame จะเป็นส่วนที่เคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งที่ต้องการ โดยการเคลื่อนที่ในแนวดิ่งของขาและการเคลื่อนที่บนระนาบไม่เกี่ยวข้องกัน โดยแต่ละส่วนสลับกันเคลื่อนที่เพื่อให้หุ่นยนต์เคลื่อนที่ไปในทิศทางต่างๆ ตามลักษณะท่าทาง (gait) ที่ต้องการได้

การวิเคราะห์ความแคล่วคล่อง โดยทั่วไปนั้นพิจารณาเฉพาะตัวของหุ่นยนต์เท่านั้นไม่ได้รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่หุ่นยนต์ต้องทำงาน แต่หุ่นยนต์จำต้องมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมเสมอจึงไม่สามารถนำผลวิเคราะห์ไปใช้ในงานจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราได้ทำการวิเคราะห์ความแคล่วคล่องโดยรวมตัวหุ่นยนต์และสิ่งแวดล้อมที่หุ่นยนต์ทำงานเข้าเป็นระบบเดียวกัน โดยพิจารณาหุ่นยนต์เดินแบบกึ่งอัตโนมัติ (semi-autonomous walking machine) : Frame Walker กับงานที่หุ่นยนต์กระทำได้แก่การเคลื่อนที่หลบผ่านสิ่งกีดขวางและหลีกเลี่ยงการเคลื่อนที่แบบวนซ้ำ (local minima) โดยกำหนดลักษณะของพื้นที่ไว้ล่วงหน้า ขั้นตอนการวิเคราะห์เริ่มจากการคำนวณหาดรรชนีความยาก (index of difficulty) จากทฤษฎีด้านข้อมูล (information theory) ดรรชนีนี้ชี้ความยากง่ายในงานที่หุ่นยนต์ต้องกระทำ และสุดท้ายทำการวิเคราะห์หาความแคล่วคล่องของหุ่นยนต์ เมื่อค่านี้เป็นบวกสามารถแน่ใจว่า หุ่นยนต์สามารถทำงานที่ต้องการนั้นได้ ผลที่ได้สามารถใช้เป็นแนวทางในการออกแบบรูปร่าง ระบบทางกล และระบบควบคุมของหุ่นยนต์ที่เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศได้


ขาแมงมุม! ตัวขับแห่งอนาคตสำหรับการสำรวจอวกาศ



ดังเช่นแมงมุมชนิดอื่นๆ แมงมุมพิษ Mexican Redknee Tarantula สายพันธ์ Brachypelma Smithii งอข้อต่อต่างๆบนขาของมันโดยไม่ใช้กล้ามเนื้อหรือกระดูก แต่ใช้ระบบการควบคุมความดันของๆเหลวในร่างกายในการยืดและงอข้อต่อต่างๆ นักวิทยาศาสตร์จึงใช้ความคิดนี้มาประยุกต์ใช้ในการสร้างตัวขับสำหรับหุ่นยนต์และชุดสำรวจอวกาศจากกลไกการขับเคลื่อนในขาของแมงมุม แมงมุมอาจไม่ใช่สิ่งมีชีวิตที่เหมาะต่อการสำรวจอวกาศ แต่การวิจัยล่าสุดของสองนักวิทยาศาสตร์ คาร์โล เมนอน (Carlo Menon) และคริสเตียน ไลร่า (Cristian Lira) แสดงให้เห็นว่ากลไกควบคุมการเคลื่อนที่ในขาแมงมุมอาจเป็นทางออกที่ดีมากต่อการสำรวจอวกาศซึ่งต้องสามารถทนต่อสภาวะแวดล้อมที่เลวร้ายในอวกาศเช่นอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ความดันที่ไม่คงที่ หรือชั้นบรรยากาศที่ไม่อาจคาดเดาได้ ทั้งนี้นักวิจัยทั้งสองได้ออกแบบต้นแบบ “แท่งชาญฉลาด” (Smart Stick) ที่มีน้ำหนักเบาและมีข้อต่อที่สามารถปรับงอได้โดยระบบ ไฮโดรลิคขนาดจิ๋วลักษณะเดียวกับกลไกในขาของแมงมุม เมนอนและไลร่าได้อธิบายในนิตยสาร Bioinspiration and Biomimetics เล่มล่าสุดว่าสัตว์แทบทุกประเภทจะใช้กล้ามเนื้อที่เรียกว่า extensors ในการงอ/ยืดข้อต่อต่างๆในร่างกายของมันซึ่งต่างออกไปจากแมงมุม แมงมุมเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูก มีเปลือกนอกที่ค่อนข้างแข็ง และมีขาแปดขาที่จะยึดติดอยู่กับส่วนตัว (prosoma) ซึ่งจะทำหน้าที่ปั๊มของเหลวในร่างกายเข้าสู่ส่วนขาโดยการหดหรือพองตัว ถึงแม้แมงมุมจะไม่มีเส้นเลือดและไม่มีแม้แต่ “เลือด” ตามหลักชีววิทยา มันก็มีของเหลวความดันสูงที่เรียกว่า “ Haemolymph ” หล่อเลี้ยงอยู่ทั่วตัว เมนอนได้ให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ข่าวเทคโนโลยีชื่อดัง PhysOrg.com ว่างานหลักของทีมวิจัยของเขาคือการค้นหาแรงบันดาลใจจากธรรมชาติเพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาการต่างๆในงานวิศวกรรมระบบสำรวจอวกาศ (Space Engineering) เขายังกล่าวต่อไปว่าทีมวิจัยของเขาได้เล็งเห็นถึงคุณลักษณะของระบบการควบคุมของเหลวในแมงมุมซึ่งจะสามารถตอบความต้องการในขนาดที่เล็กกะทัดรัดและสัดส่วนแรงต่อน้ำหนัก (ratio of force per unit mass) ของตัวขับ ( Actuator ) ที่จะนำไปใช้ในอวกาศSmart Stick ของเมนอนและไลร่ามีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเพียง 1 มิลลิเมตรซึ่งใหญ่กว่าขนาดจริงขาแมงมุมเพียงเล็กน้อย ข้อต่อหนึ่งข้อจะทำให้ Smart Stick สามารถงอเพียง 1.8 องศา นักวิจัยจึงคิดค้นระบบง่ายๆเพื่อเชื่อมต่อข้อต่อ Smart Stick หลายๆอันเข้าด้วยกันเพื่อทำให้ Smart Stick สามารถงอได้มากขึ้น แต่ละหน่วยควบคุมประกอบไปด้วยตัวขับที่สามารถยืดหยุ่นเพื่อยุบหรือพองตามความดันภายในและท่อเล็กๆ (Tube) ที่จะวางขั้นกลางข้อต่อแต่ละข้อ เมื่อต้องการงอข้อต่อ Smart Stick ระบบไฮโดรลิคจะฉีดน้ำผ่านท่อเล็กๆดังกล่าวทำให้ตัวขับถูกอัดด้วยของเหลวภายในพองออกและทำให้ Smart Stick แยกออกจากกันตามรูปด้านบน โดยตัววัดจะทำหน้าที่ส่งข้อมูลด้านความดันที่วัดได้ย้อนกลับไปสู่ส่วนประมวลผลเพื่อทำการควบคุมเพิ่มหรือลดความดันแบบมีการป้อนสัญญาณย้อนกลับ (Feedback Control) นักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญด้านโครงสร้างแบบเยื่อบางๆ ( Gossamer Structures) เพื่อการใช้งานในอวกาศกล่าวว่า การประยุกต์ใช้ อุปกรณ์ต่างๆในอวกาศจำเป็นต้องคำนึงถึงโครงสร้าง กลไก และระบบที่จะสามารถตอบสนองต่องานที่มีความท้าทายสูง ทั้งยังจะต้องมีขนาด ปริมาตร และน้ำหนักที่น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ การพับและเปลี่ยนแปลงรูปร่างของท่อเล็กๆใน Smart Stick ทำให้ความต้องการของเครื่องกลและข้อต่อต่างๆมีลดลง ซึ่งจะทำให้ระบบการควบคุมง่ายขึ้น ทั้งยังเสถียรและมีน้ำหนักที่เบาอย่างไม่น่าเชื่อนอกจากความต้องการที่จะทำให้วัสดุในการทำ Smart Stick เบาแล้ว กลไกต่างๆของ Smart Stick ยังจะต้องสามารถทนต่ออนุภาคที่มีพลังงานสูง อนุภาคที่มีประจุ และรังสีต่างๆในอวกาศให้ได้ ในเบื้องต้นเมนอนและไลร่าออกแบบ Smart Stick สำหรับสภาวะบนโลก แต่เชื่อว่าในอนาคตทีมวิจัยของเขาจะเปลี่ยนไปใช้วัสดุที่มีความยืดหยุ่นที่สูงกว่าปัจจุบันและนำของเหลวมาใช้แบบระบบปิด (Closed Fluid Loop) นอกจากระบบปิดจะทำให้ความดันของๆเหลวในระบบควบคุมสูงขึ้นแล้ว ระบบปิดยังจะช่วยลดปัญหาเกี่ยวกับการรั่วไหลของๆเหลวออกจากระบบซึ่งมักจะเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไขสำหรับวิศวกรรมระบบสำรวจอวกาศเมนอนกล่าวว่า “ข้อต่อที่มีน้ำหนักเบาสามารถนำไปใช้ได้กับกลไกสำหรับงานสำรวจอวกาศหลายประเภท ยกตัวอย่างเช่นระบบควบคุมหุ่นยนต์ขนาดเล็ก มือหุ่นยนต์ขนาดเล็ก หรือฝังลงในระบบที่สามารถพับหรืองอได้” Smart Stick ยังอาจจะต้องใช้เวลาอีกซักพักกว่าที่มันจะถูกนำไปใช้ในอวกาศได้จริง ไลร่าจึงเล็งเห็นถึงประโยชน์ในเบื้องต้นสำหรับกลไกในระบบความคุมของเหลวของ Smart Stick ไลร่ากำลังทำการวิจัยในโครงสร้างใยที่ยืดหยุ่นได้เพื่อสวมใส่ในการช่วยรองรับน้ำหนักและสรีระของมนุษย์ในขณะที่ต้องยืนทำงานหรือนั่งเป็นเวลานานเพื่อให้ไม่รู้สึกเหนื่อยล้า ใยที่มีความยืดหยุ่นนี้ถูกเรียกว่า “Variable Structure Fabric” (VSF) เทคโนโลยี VSF นี้ได้นำความคิดที่ได้มาจากตัวขับชนิดพึ่งพาของเหลวอย่าง Smart Stick มาใช้ในการผลิตเสื้อผ้าที่ใช้ในด้านเฉพาะทาง ตะเข็บเบาะรถ หรือแม้แต่กางเกงใน!


อ้างอิงจาก http://www.vcharkarn.com/vcafe/59807

NASA ประดิษฐ์หุ่นยนต์สำรวจอวกาศแบบเปลี่ยนรูปร่างได้ตามสภาพแวดล้อม "TETWalker"

“หุ่นยนต์รุ่นใหม่นี้จะสามารถสำรวจโลกใหม่ได้ง่ายยิ่งขึ้นโดยการเปลี่ยนรูปทรงของมันเองให้เข้ากับสถานการณ์และสภาพแวดล้อมต่างๆ”เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์ที่ศูนย์ NASA’s Goddard Space Flight Center ประสพความสำเร็จในการประกอบหุ่นยนต์สำรวจอวกาศและดวงจันทร์แบบใหม่ กลุ่มนักวิจัยดังกล่าวเสริมด้วยว่างานวิจัยหุ่นยนต์นี้จะสามารถนำไปใช้กับ สภาพแวดล้อมที่โหดร้ายบนโลกได้ด้วยพาเมล่า คล้าร์ก (Pamela Clark) ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัย Catholic University of America หนึ่งในผู้ออกแบบหุ่นยนต์ดังกล่าวให้สัมภาษณ์ว่าหุ่นยนต์ตัวนี้จะไม่มีการ เคลื่อนที่แบบขับเคลื่อนด้วยล้อ เดิน หรือกลิ้งไปตามพื้นผิวที่ต้องการสำรวจ หากแต่มันจะมีการเคลื่อนที่พร้อมกับการเปลี่ยนรูปทรงในลักษณะ “เซ” ไปมาโดยกลุ่มนักวิจัยเรียกการเคลื่อนที่ลักษณะนี้ว่า “Drunken-Sailor Walk” (กะลาสีเรือเมา) หุ่นยนต์ที่ถือได้ว่ามีขนาดเล็กตัวนี้ประกอบไปด้วยโครงสร้างที่สามารถยืดหด ได้ซึ่งมีจุดศูนย์กลางในการเคลื่อนที่อยู่ที่ข้อต่อ/จุดเชื่อมแบบกลม (Node) โดยมีบาร์บางๆอยู่รอบๆ Node เป็นลักษณะรูปทรงสี่ด้านซึ่งจะมีหน่วยประมวลผลและอุปกรณ์ตรวจวัดอยู่ตรงกลาง หุ่นยนต์จะเคลื่อนที่โดยการยืดหรือหดบาร์รอบๆ Node เพื่อเปลี่ยนรูปทรงตัวเองจนจุดศูนย์ถ่วง (Center of Gravity) เทไปในด้านที่ต้องการซึ่งจะส่งผลทำให้รูปทรงโดยรวมเซไปในลักษณะเหมือนกับการ ล้มและขั้นตอนดังกล่าวก็จะถูกปฏิบัติต่อไปเรื่อยๆจนกว่าจะถึงที่หมาย โดยรูปทรงที่เจ่าหุ่นยนต์ตัวนี้จะสามารถเปลี่ยนแปลงไประหว่างการเคลื่อนที่ นั้นขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและสภาพพื้นผิว โดยทั่วไปมันจะสามารถแปลงเป็นรูปทรงสามเหลี่ยม วงกลม หรือแม้ที่แบบราบไปกับพื้นผิว ข้อดีของการเคลื่อนที่ลักษณะนี้คือจะทำให้หุ่นยนต์สามารถสำรวจไปในพื้นที่ ที่ยากต่อการเข้าถึงเช่นหลุมที่ลึกและชันหรือแม้แต่การไต่ผาสูงการเคลื่อนโดยการถ่ายเทจุดศูนย์ถ่วงในลักษณะดังกล่าวอาจฟังดูเหมือนเป็นการ เคลื่อนที่ที่ไม่สะดวกและไม่ให้ผลดีใดๆ แต่ดร.คล้าร์กยืนยันว่าการเคลื่อนที่ดังกล่าวจะสามารถทำให้หุ่นยนต์ขอพวกเขา สามารถผ่านอุปสรรคต่างๆ พื้นผิวที่ลื่นมากๆ หรือแม้แต่เนินที่มีความชันสูง คำกล่าวดังกล่าวได้รับการพิสูจน์แล้วเมื่อเดือนที่ผ่านมาโดยหุ่นยนต์ต้นแบบ สามารถปีนเขาได้อย่างสบายๆแม้ลมจะแรงขนาดที่กลุ่มนักวิจัยยังต้องระวังที่จะ ตกเขาในระหว่างการทดสอบหุ่นยนต์ทดลองตัวใหม่ที่เพิ่งประกอบเสร็จเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมาประกอบไปด้วย โครงสร้างของหุ่นยนต์ต้นแบบรูปทรงสี่เหลี่ยมถึง 12 ตัว ดร.คล้าร์กให้เหตุผลว่าการเพิ่มจำนวนโครงสร้างจะทำให้เกิดสภาพคล่องที่ดี ขึ้นในการเคลื่อนที่และหน่วยประมวลผลจะสามารถปรับและควบคุมรูปทรงที่ เปลี่ยนแปลงได้ระเอียดและดียิ่งขึ้นโดยองค์ประกอบและขนาดของหุ่นยนต์ต้นแบบ เดิมก็ไม่จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนอะไรมากดร.คล้าร์กยังให้สัมภาษณ์ด้วยว่าสิ่งที่ยากที่สุดในงานวิจัยนี้คืออัลกอริธึม (Algorithm) (http://lexitron.nectec.or.th/LEXiTRONService/LexitServlet?key=algorithm) ที่ใช้ในการควบคุมเนื่องจากมันเป็นการยากมากที่จะนึกภาพโครงสร้าง 26 ชิ้นซึ่งเชื่อมต่อกับ Node มากมายเคลื่อนที่เพื่อนำหุ่นยนต์ไปในที่ที่ต้องการโดยไม่ต้องใช้ล้อ นอกจากนั้นโครงสร้างแต่ละชิ้นยังจะต้องสามารถถอดเปลี่ยนได้อย่างง่ายดาย เพื่อไม่ให้งานสำรวจอวกาศล่าช้าหากเกิดการชำรุดในโครงสร้างบางชิ้นจาก อุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้เพราะฉะนั้นงานวิจัยดังกล่าวกำลังอยู่ในขั้นตอนการคิดหาอัลกอริธึมการ เคลื่อนที่ใหม่ๆในลักษณะต่างๆกันออกไปที่เหมาะสมสำหรับการเคลื่อนที่บนสภาพ พื้นผิวต่างๆที่อาจจะพบในการสำรวจอวกาศ การคิดหา อัลกอริธึมนี้จะรวมไปถึงการคิดในเชิงโครงสร้างว่าโครงสร้างแต่ละชิ้นจะต้อง ยืดหดเท่าใดและในลำดับใด ในเบื้องต้นดร.คล้าร์กกำลังคิดชุดคำสั่งสำหรับการเคลื่อนที่แบบอะมีบา (Amoeba) (http://www.answers.com/topic/amoeba) ซึ่งจะทำให้หุ่นยนต์เคลื่อนที่เหมือนสัตว์เซลเดียวที่คลานไปตามพื้นผิวโดยจะ พยายามยืดเซลของตัวเองไปในทางที่ต้องการในแนวราบลักษณะเดียวกับการยืดหรือหด โครงสร้างของรูปทรงหุ่นยนต์ของเขา การเคลื่อนที่แบบนี้จะช่วยทำให้มีการสูญเสียพลังงานสำหรับตัวขับที่ต้องใช้ ออกแรงต้านแรงโน้มถ่วงน้อยลงเนื่องจากไม่มีการเคลื่อนที่ในแนวดิ่งหลังจากการทดลองอันยาวนานในห้องทดลอง ทีมวิจัยก็พร้อมที่จะนำหุ่นยนต์ต้นแบบตัวใหม่นี้ไปทดลองกับสภาพแวดล้อมจริง โดยสถานที่ทดลองจะเป็นที่ Sedan Crater ในรัฐเนวาดา (Nevada) ประเทศสหรัฐอเมริกา สถานที่ทดลองดังกล่าวเป็นสถานที่ทดสอบระเบิดนิวเคลียเก่า (Nuclear Bomb Test Site) ซึ่งประกอบไปด้วยเนินเขาที่มีความชันถึง 40 องศาและมีสภาพพื้นเป็นทรายร่วน คุณสมบัติของสถานที่ทดลองใหม่นี้ต่างไปจากสถานที่ทดลองเดินที่ใช้ทดสอบ หุ่นยนต์ต้นแบบรูปทรงสี่เหลี่ยมซึ่งมีความลาดชันเพียง 23 องศาและพื้นดินเป็นหินกรวด หุ่นยนต์แบบปรับเปลี่ยนรูปทรงได้จะต้องสามารถผ่านอุปสรรคนี้ไปได้โดยไม่มี ความล่าช้าเมื่อเทียบกับหุ่นยนต์หรือรถสำรวจอวกาศ ทีมวิจัยได้เตรียมหุ่นยนต์สำหรับการสำรวจดวงจันทร์และดาวอังคารไว้เรียบร้อย แล้วโดยเชื่อว่าหุ่นยนต์ของพวกเขาจะสามารถสำรวจดาวเคราะห์ดังกล่าวในบริเวณ ที่รถสำรวจอวกาศเข้าไม่ถึง ทั้งยังจะสามารถปีนเขาหรือร่องเขาแคบๆได้โดยเทคนิคการปีนเขาของคนเพื่อที่ การสำรวจจะสามารถเก็บข้อมูลและตัวอย่างจากที่ที่มีความน่าสนใจทั้งในทาง ชีววิทยาและธรณีวิทยาทีมนักวิจัยหวังว่าหุ่นยนต์ของพวกเขาจะสามารถทำงานร่วมกับรถสำรวจอวกาศได้ใน ลักษณะที่รถสำรวจอวกาศจะทำหน้าที่เป็นฐานและเป็นพาหนะให้หุ่นยนต์ของพวกเขา เพื่อนำกลุ่มหุ่นยนต์ดังกล่าวไปในที่ที่ต้องการสำรวจและทำงานเสมือนเป็น “กลุ่มทหารพรานหรือหน่วยสอดแนมย่อย”


สุดยอด!!! หุ่นยนต์"กระโดด"ได้โดยไม่ล้ม




โทโมทากะ ทากาฮาชิ นักออกแบบและพัฒนาหุ่นยนต์จาก ROBO-GARAGE เจ้าของผลงานที่อาจจะคุ้นตาคุณผู้อ่านมาบ้างนั่นก็คือ Evolta หุ่นยนต์จิ๋วของ Panasonic ที่สามารถไต่เชือกขึ้นแกรนด์แคนยอนได้ด้วยแบตเตอรี่เพียง 2 ก้อน ล่าสุดทากาฮาชิคิดว่า ฮิวแมนอยด์ในยุคปัจจุบันที่สามารถ "วิ่ง" และเคลื่อนตัวได้อย่างคล่องแคล่วนั้นยังไม่พอ เพราะหุ่นยนต์ของเขาสามารถ "กระโดด" ได้ด้วย...ว้าว!!!



ROPID หุ่นยนต์ฮิวแมนอยด์ขนาดเล็กที่มีความสูงเพียง 38 ซม. (14 นิ้ว) แต่สามารถกระโดดขึ้นไปด้วยเท้าทั้งสองได้สูงถึง 8 ซม. (3 นิ้ว) หรือคิดเป็น 1 ใน 4 ของความสูงของมัน และลงมายืนได้โดยไม่ล้ม โดยในระหว่างสาธิต เจ้า ROPID ถูกร้องขอให้แสดงการกระโดดให้ดูมากกว่า 20 ครั้ง เนื่องจากช่างภาพต้องการได้ช็อตเด็ดไปใช้ในการทำข่าวนั่นเอง




ชื่อของ ROPID มาจากการผสมคำว่า Robot กับ Rapid ซึ่งก็สอดคล้องกับคุณสมบัติของมันที่สามารถ "วิ่ง" และ "หมุนตัว" ได้อย่างคล่องแคล่วราวกับมนุษย์ นอกจากความสามารถดังกล่าวแล้ว ทากาฮาชิ ยังต้องการให้หุ่นยนต์ของเขาสามารถรับคำสั่งด้วย"เสียง"ได้อีกด้วย โดยเขาใช้ชิปรู้จำเสียง BSRM01-01E จากบริษัท Raytron ที่สามารถรู้จำคำสั่งที่เป็นคำ หรือวลีได้ โดย ROPID สามารถเข้าใจคำสั่ง และวลีได้ถึง 8 คำสั่งจากระยะห่างไม่เกิน 3 เมตร ที่ทำได้ก็เพราะชิปดังกล่าวมาพร้อมกับวงจรตัดเสียงรบกวน (noise-canceling) อย่างไรก็ตาม ในระหว่างการสาธิต ROPID ตีความคำสั่งที่ได้ยินไม่ได้บ้างเหมือนกัน สงสัยจะเป็นเพราะตื่นเต้นกับเสียงแฟลชของนักข่าว?






หากสังเกตที่ปากของ ROPID คุณผู้อ่านจะเห็นว่า มันมีกลไกที่ทำให้สามารถขยับได้ด้วยเวลาพูด ซึ่งทำให้ดูน่าสนใจยิ่งขึ้น นอกจากนี้ที่มือของมันยังสามารถขยับนิ้วได้อีกต่างหาก คาดว่า น่าจะโปรแกรมให้หยิบจับของเบาๆ ได้ ROPID จะมีน้ำหนักแค่ 1.6 กิโลกรัมเท่านั้น และมีข้อต่อแยกอิสระทั้งตัว 29 แห่ง (ขา 2 ข้างๆ ละ 7 ตำแหน่ง แขน 2 ข้างๆ ละ 5 ตำแหน่ง ลำตัว 1 ตำแหน่ง และหัวอีก 4 ตำแหน่ง) ตัวถังของหุนยนต์ทำจากคาร์บอนไฟเบอร์ และพลาสติก ซึ่งทำให้ตัวมันมีน้ำหนักเบา และมีความแข็งแรงทนทานพอสมควร หัวใจของการทำงานที่ไม่พูดถึงไม่ได้ของ ROPID ก็คือ กลไกการทรงตัวของขาทั้งสองที่ใช้ accelerometer เซ็นเซอร์ตรวจจับความเร่งใน 2 แกนทำงานร่วมกับเซ็นเซอร์ควบคุมการทรงตัว Gyro แบบ 2 แกน โดยเซ็นเซอร์ทั้งสองจะช่วยรักษาสมดุลย์ขณะที่ ROPID วิ่ง และหลังจากกระโดดลงมายืนกับพื้นอีกครั้ง ไม่เพียงเท่านั้น ส่วนของลำตัวที่เอี้ยวตัวได้ยังมีกลไกที่ช่วยเพิ่มความมั่นคงในการยืนไม่ให้ล้มง่ายอีกด้วย สำหรับแผงวงจรควบคุมที่ใช้โปรแกรมท่าทางของ ROPID จะใช้ VS-RC003 จาก Vstone ซึ่งก็เป็นบอร์ดที่เราพบเห็นในหุ่นยนต์ขนาดเล็กทั่วไป




และเมื่อนำชิ้นส่วนทั้งหมดมาประกอบเข้าด้วยกัน ผนวกกับความสามารถในการรับคำสั่งด้วยเสียงพูดของมนุษย์ ทำให้เจ้า ROPID กลายเป็นฮิวแมนอยด์ที่มีคุณสมบัติการทำงานเหนือหุ่นยนต์ขนาดเล็กที่พบเห็นทั่วไปในปัจจุบัน (ดูคล่องแคล่วกว่า Nao ของฝรั่งเศษเยอะเลย) ดูแล้วใกล้เคียงกับความสามารถของ QRIO มากๆ งานนี้ต้องปรบมือให้กับมันสมองอัจฉริยะของทากาฮาชิอีกครั้ง




อ้างอิงจาก http://www.arip.co.th/news.php?id=410257

หุ่นยนต์มือถือ

หุ่นยนต์มือถือโพลาริส เป็นโทรศัพท์มือถือและหุ่นยนต์ผลงานการพัฒนาร่วมกันระหว่างเคดีดีไอและฟลาวเวอร์โรโบติกส์ โดยโพลาริส สามารถดาวน์โหลดข้อมูลจากมือถือมาไว้ภายในหุ่นยนต์ เพื่อให้ช่วยประมวลผลข้อมูลทั้งการดูแลสุขภาพ โปรแกรมพักผ่อน กิจกรรมระหว่างวัน ผ่านจอมอนิเตอร์ของหุ่นยนต์ คาดว่าจะวางจำหน่ายภายในปีนี้ความเร็วสูง เมมโมรี่ไฮเปอร์เอ็กซ์ของคิงส์ตัน ความเร็วระดับซูเปอร์ที่ 2133 MHz ใช้ไฟเลี้ยงในระดับต่ำเพียง 1.65 โวลต์ ความจุ 4GB สำหรับกลุ่มผู้ใช้ที่อยากจะทดลองใช้แพลตฟอร์ม คอร์ไอ 5 ของอินเทล เพื่อยกระดับประสิทธิภาพความแรงในการทำโอเวอร์คล็อกมือถือรุ่นใหม่ นางแบบอวดโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่สองรุ่น คือ พริสโมลด์ (ซ้าย)และไพล (ขวา) ของเคดีดีไอ โอปอเร เตอร์รายใหญ่ในญี่ปุ่น โดยพริส โมลด์ ออกแบบโดยนาโอโตะ ฟูกาซาวา และไพล ออกแบบโดยฮิเดโอะ คามบารา ทั้งสองรุ่นจะวางจำหน่ายพร้อมกันในประเทศญี่ปุ่น ภายในเดือนกันยายนนี้ลำโพงจิ๋ว ลำโพงขนาดเล็กสำหรับฟังเพลงของโนเกีย ชื่อโนเกีย มินิ สปิกเกอร์ เอ็มดี 9 เปิดตัวครั้งแรกในงานโนเกียเวิลด์ จัดที่เมืองสตุตการ์ต เยอรมนี


มองหุ่นยนต์ไฮเทคกับโอกาสเด็กไทย จินตนาการที่ต้องฝันต่อ

จากของเล่นที่เคยถูกสร้างด้วยพลาสติก หรือยาง ที่วันนี้ได้ถูกปรับเปลี่ยน และปรุงแต่งผ่าน การขับเคลื่อนด้วย นวัตกรรมทางด้านไอที เช่น หุ่นยนต์ที่เคยทำด้วยพลาสติก ได้ถูกพัฒนาจน สามารถเลียนแบบพฤติกรรม มนุษย์ได้ ซึ่งก่อนหน้านี้ ผู้คนอาจจะคุ้นชิน กับการนำหุ่นยนต์มาเพื่อช่วยแบกรับ การทำงานอย่าง อาซิโม (Asimo) ที่บริษัทฮอนด้า จากประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้พัฒนา โดยได้ใช้เทคโนโลยีด้าน AI (Artificial Intelligence) เพื่อตอบสนองการใช้งาน หรือกระทั่งการสร้างหุ่นยนต์กู้ภัย (Rescue Robot) ที่มีรูปลักษณ์ตามแต่จินตนาการด้านการใช้งานนั้นๆ
แต่ใครจะคิดว่าของเล่นในประเทศไทยปัจจุบัน จะสามารถพัฒนาขึ้นมาตอบสนอง ด้านความบันเทิงได้ จนกระทั่ง บ.นิชิเวิร์ล จำกัด เริ่มนำหุ่นยนต์ที่มีโครงสร้างคล้ายมนุษย์ หรือสิ่งมีชีวิต มาเปิดตัวเมื่อ 1-2 ปีที่ผ่านมาไล่เรียงตั้งแต่ โรโบซาเปี้ยน (Robosapien) โรโบเพ็ท (Robopet) โรโบแรฟเตอร์ (Roboraptor) หรือล่าสุดที่เปิดตัวไป ไม่นานมานี้อย่าง โรโบซาเปี้ยน วีทู (Robosapien V2) ซึ่งหลายคนอาจจะเคยผ่าน ตาตามนิทรรศการด้านเทคโนโลยี โดยได้เห็นถึงกระแสการตอบรับอย่างล้นหลาม เนื่องจากหุ่นยนต์ถูกออกแบบให้มีลักษณะราวกับสิ่งมีชีวิตจริงๆ
นายสุทธิชัย เอี่ยมเจริญยิ่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัท นิชิเวิร์ล จำกัด ให้ข้อมูลว่า จากการที่บริษัทได้นำหุ่นยนต์ ไฮเทคโรโบซาเปี้ยน เข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 โดยได้ถูกพัฒนาจากบริษัท Wowwee ในประเทศแคนาดา และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี เนื่องจากเป็นนวัตกรรม ด้านเทคโนโลยีใหม่ จนกระทั่งสามารถคว้ารางวัล ทอยออฟเดอะเยียร์ (Toy of the Year) ก่อนจะทำยอด จำหน่ายได้ถึง 2-3 ล้านตัวทั่วโลกในระยะเวลา 2 ปี รวมถึงในประเทศไทยกว่า 2,000 ตัวนั้น นิชิเวิร์ลจึงได้พัฒนาหุ่นยนต์เทคโนโลยี ในเวอร์ชั่นต่อมาอีก 3 เวอร์ชั่น
“ตั้งแต่หุ่นยนต์โรโบซาเปี้ยนที่เคลื่อนไหวคล้ายมนุษย์ โดยสามารถตั้งโปรแกรมล่วงหน้าได้ 67 คำสั่ง อาทิ การหยิบ โยน เตะ ต่อย เต้นรำ กังฟู อื่นๆ ซึ่งนับเป็นมิติใหม่ของเทคโนโลยี ในของเล่น ต่อมาโรโบแรฟเตอร์ที่อาศัยธรรมชาติ ของสัตว์ล่าเหยื่อดึกดำบรรพ์ เป็นพฤติกรรมหลักที่แสดงอารมณ์ และสนองตอบสิ่งรอบข้าง อาทิ การตอบโต้ ล่าเหยื่อ ตื่นเต้น ระมัดระวัง อย่างไรก็ตาม ด้วยการเป็นของเล่นจึงต้องมีโหมด เพื่อความบันเทิง โดยใช้บุคลิกขี้เล่น เป็นมิตรเข้ามาช่วยเสริม รวมถึงเสริม ระบบอินฟราเรดวิชชั่น (Infrared Vision) เพื่อตรวจจับวัตถุบริเวณใกล้เคียง” กก.ผจก.บ.นิชิเวิร์ล จำกัด กล่าว
“ขณะที่หุ่นยนต์ตัวที่ 3 จะลดความ ก้าวร้าว ดุดันลงมา โดยเกิดจากแนวคิด ที่ต้องการให้ หุ่นยนต์เป็นสัตว์เลี้ยง โรโบเพ็ทที่มีรูปร่าง ละม้ายกับสุนัข จึงถูกพัฒนาออกมา ให้เป็นเพื่อนเล่น ด้วยความคล่องแคล่ว ความอยากรู้อยากเห็นที่มีบุคลิกคล้ายเด็ก รวมถึงการเพิ่มเทคโนโลยี ลงไปในของเล่นตัวนี้ อาทิ เซ็นเซอร์อินฟราเรดในสายตา การจับ การรับรู้วัตถุ เซ็นเซอร์เสียงที่ตอบสนองโดยขึ้นอยู่กับ อารมณ์ เซ็นเซอร์การเคลื่อนไหว การเพิ่มเสียงสัตว์ ด้วยระบบดิจิตอล เช่น เสียงเห่า คำราม ราง หอบ และโหมดการเฝ้าระวังโดยใช้สายตา และการจับเสียง รวมถึงการตอบสนองต่อคำสั่ง ของหุ่นยนต์ตัวล่าสุด โรโบซาเปี้ยน วีทูด้วย” นายสุทธิชัย เสริม
ทั้งนี้ หุ่นยนต์โรโบซาเปี้ยน วีทูที่เปิดตลาดไปเมื่อเดือนที่แล้วนั้น ได้พัฒนามาต่อยอดจากรุ่นแรก ด้วยการสร้างสรรค์ของมาร์ค ทิวเด้น นักฟิสิกส์ด้านการพัฒนาหุ่นยนต์ของบริษัท Wowwee ประเทศแคนาดา ที่มีประสบการณ์ทำงานกับองค์การนาซ่าในห้องทดลอง ด้านการขับเคลื่อนยาน ห้องทดลองแห่งชาติ ลอส อลามอส ประเทศสหรัฐอเมริกา รวมถึงการเป็นหนึ่งในผู้ร่วมประดิษฐ์หุ่นยนต์ไปเดินบนดาวอังคาร
กก.ผจก.บ.นิชิเวิร์ล ให้รายละเอียดอีกว่า หุ่นยนต์โรโบซาเปี้ยน วีทูจะมีรูปร่างที่สูงกว่า เวอร์ชั่นแรกกว่า เท่าตัว โดยมีความสูง 2 ฟุต หรือประมาณ 60 ซ.ม.ที่เต็มไปด้วยคุณสมบัติต่างๆ อาทิ สามารถเดินด้วยเท้า 2 ข้าง ด้วยความเร็วหลายระดับ การหยิบจับสิ่งของที่กระชับแน่น โดยมีรายละเอียดตรงนิ้วมือที่ประณีต แกนศีรษะสามารถหมุนได้ทั้งซ้าย และขวา พร้อมไฟกระพริบสีฟ้าข้างในตา เซ็นเซอร์แสดงปฏิกิริยาตอบสนอง รวมถึงการพูดโต้ตอบเป็น ภาษามนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อม
“ในแง่ระบบการมองเห็นสี รับรู้เรื่องสี จะมีเซ็นเซอร์จดจำได้ทั้งสิ้น 4 สีคือ สีแดง สีเหลือง สีน้ำเงิน ที่เป็นแม่สีทั้ง 3 สี รวมถึงโทนสีผิวมนุษย์ โดยอาศัยการมองเห็นด้วยระบบอินฟราเรด เนื่องจากการแยกแยะสีพิเศษ จะทำให้หุ่นยนต์เกิดอาการตอบสนองโดยอาจจะโบกมือทักทาย หรือเอื้อมมือมาเพื่อขอจับมือ นอกจากนี้ ยังสามารถหลบหลีกสิ่งกีดขวางได้แบบอัตโนมัติ โดยใช้เทคโนโลยีด้าน AI จับความเคลื่อนไหวของวัตถุ รวมถึงแสดงท่าทางการเคลื่อนไหว ได้มากกว่า 80 ท่าตามโปรแกรม” นายสุทธิชัย กล่าว
เมื่อมองกลับมาในเมืองไทย คงมีจำนวน ไม่น้อยที่เคย ได้ยินชื่อผู้คร่ำหวอด และคลุกคลีอยู่กับการพัฒนาหุ่นยนต์ ดร.ชิต เหล่าวัฒนา ผู้ก่อตั้ง และผู้อำนวยการ สถาบันวิทยาการ หุ่นยนต์ภาคสนาม แห่ง ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี หรือฟีโบ้ (Institude of Field Robotic) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาการ ศึกษาระดับสูง และการวิจัยด้านระบบ อัตโนมัติหุ่นยนต์อุตสาหกรรม รวมไปถึงการให้บริการที่ปรึกษา กับอุตสาหกรรมต่างๆ ในประเทศเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยน และเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต
อาจารย์ชิตเล่าว่า จากสมัยก่อนที่วิทยาการด้านหุ่นยนต์ ไม่ค่อยได้รับการยอมรับ แต่ได้นำมาคิด วิเคราะห์ดูว่า ประเทศไทยมีแรงงานจำนวนมาก และเป็นไปได้ไหม ที่จะสร้างหุ่นยนต์ ขึ้นมาเพื่อใช้แทนแรงงานคน เพราะมองเห็นความสำคัญว่าอีกไม่นาน หุ่นยนต์จะเป็นหนึ่งใน ห้าเทคโนโลยีที่กำหนดความเป็นไปของโลกมนุษย์ โดยหลายคนกำลังพูดถึง AI (Artificial Intelligence) หรือปัญญาประดิษฐ์ ที่หุ่นยนต์จะเริ่มคิดเอง นอกจากนี้ ยังเชื่อว่าหุ่นยนต์ ที่นิชิเวิร์ลนำเข้ามาจะช่วยกระตุ้น ให้อุตสาหกรรมไทยเติบโต รวมถึงแสดงให้เห็นถึง การก้าวเข้าสู่โลก เทคโนโลยีอย่างเต็มตัว
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเกี่ยวกับ การ สร้างหุ่นยนต์มีอยู่ 2 แง่มุมคือ ตลาดในเมืองไทยยังค่อนข้างแคบ เนื่องจากมีผู้นำเข้าเพียงรายเดียว ซึ่งก็คือ บ.นิชิเวิร์ล จำกัด ทำให้ในเชิงการแข่งขัน ยังไม่สามารถขยายให้กว้างขึ้นได้ แม้เทคโนโลยีนี้ จะมียอดเติบโต 30 % จึงทำให้ส่งผลมาสู่อีก หนึ่งปัจจัยในด้านราคาที่ยังคงมีราคาที่ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะโรโบซาเปี้ยน วีทูที่เปิดตัวไป ล่าสุดถูก ตั้งราคาไว้ที่ตัวละ 15,900 บาท ทำให้กำลังซื้อถูกแบ่งแยกออกอย่างชัดเจน
เหมือนอย่างที่กก.ผจก.บ.นิชิเวิร์ล ได้ให้ความเห็นตอนท้ายไว้อย่างฟังว่า “ถ้ามองเป็นของเล่นนับว่า ราคาอยู่ในระดับที่สูง แต่ถ้ามอง เป็นหุ่นยนต์ จะนับว่าเป็นหุ่นยนต์ ราคาถูก”
ดังนั้น เมื่อมองในแง่โอกาสแล้ว กลุ่มคนที่มีฐานะดีอาจ ไม่มีปัญหาต่อการ ครอบครอง หุ่นยนต์ไฮเทค แต่ในมุมกลับกันกับเด็ก ที่มีฐานะทางบ้านไม่ค่อยดี ก็คงจะต้องรอคอยโอกาส ได้สัมผัสและเป็นเจ้าของหุ่นยนต์ต่อไป.....




ส่วนประกอบหลัก ของหุ่นยนต์

หุ่นยนต์... ในปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีของมนุษย์นั้น มีความก้าวล้ำไปเร็วมาก เรื่องของหุ่นยนต์ก็เช่นกัน มีการพัฒนากันมาอย่างต่อเนื่อง มากมายหลากหลายรูปแบบ จนบางครั้งน้อง ๆ หน้าใส วัยทีน บางคนถึงกับสงสัยว่า หุ่นยนต์ตัวหนึ่ง ๆ นั้น น่าจะมีอะไรเป็นองค์ประกอบหลัก ๆ ที่พอจะจัดได้ว่า เจ้าสิ่งนี้คือหุ่นยนต์หรือปล่าว เพื่อให้สามารถมองภาพรวมของหุ่นยนต์ ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ผมขอแบ่งส่วนประกอบของหุ่นยนต์ ออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ ดังต่อไปนี้ครับ...
Mechanical part...ในส่วนนี้จะเป็นส่วนของระบบทางกล ทั้งหมดของหุ่นยนต์ เช่น ล้อ, ระบบขับเคลื่อน, แขนกล, มือกล หรือแม้แต่ข้อพับ, ข้อเหวี่ยงต่าง ๆ หรืออาจจะเรียกว่าโครง หรือเฟรม ของหุ่นยนต์ ก็ได้ครับ หากจะเปรียบกับคนแล้ว ก็อาจจะเปรียบเทียบได้กับ โครงกระดูก หรือร่างกายภายนอก เช่น แขน, ขา, ลำตัว ฯลฯ นั่นเองครับ...
Electrical Circuit part...สำหรับส่วนนี้ จะเป็นส่วนของระบบวงจรไฟฟ้า ทั้งหมดของหุ่นยนต์ ซึ่งในหุ่นยนต์ 1 ตัวนั้น จะประกอบด้วยวงจรต่าง ๆ หลายวงจร ทำงานร่วมกันอยู่ เช่น Controller circuit, Sensor circuit, Driver circuit, Interfacing circuit และวงจรอื่น ๆ แล้วแต่ความจำเป็น สำหรับหุ่นยนต์ตัวนั้น ๆ นอกจากนี้ยังรวมไปถึง แหล่งจ่ายฟลังงาน และส่วนควบคุม (Control panel) อีกด้วย หากจะว่าไปแล้ว ส่วนของวงจรไฟฟ้านี้ อาจเปรียบเทียบได้กับ อวัยวะภายในของร่างกายมนุษย์ เช่น หัวใจ, ตับ, ปอด, เส้นเลือด ฯลฯ ก้อว่าได้ครับ...

Software Control part...และส่วนนี้ ก็จะเป็นส่วนของโปรแกรมปฏิบัติงาน ถึงแม้ว่า หุ่นยนต์จะได้รับการออกแบบสร้าง มาอย่างดีเพียงไรก็ตาม แต่จะยังคงทำงานตามที่เราต้องการไม่ได้แน่ ๆ หากยังไม่ได้มีการใส่โปรแกรมที่ถูกต้อง และเหมาะสมให้กับมัน หากจะเปรียบไป ส่วนนี้ก็น่าจะเปรียบเทียบได้กับ สติปัญญาของมนุษย์นั่นเองครับ...
และจากที่ผมได้กล่าวมาทั้งหมดแล้วนั้น เราจะเห็นได้ว่าทั้งสามส่วนนั้น มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน หุ่นยนต์ที่มีประสิทธิภาพ ส่วนประกอบหลักทั้งสามส่วน ที่ได้กล่าวมานั้น จะต้องสามารถทำงานร่วมกัน ได้อย่างสอดคล้องลงตัว
ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า บทความนี้คงพอมีประโยชน์ กับน้อง ๆ รุ่นใหม่ ๆ ที่กำลังจะก้าวเข้ามาสู่ ห้วงแห่งเทคโนโลยีของหุ่นยนต์ อย่างน้อยก็น่าจะทำให้ มองภาพรวมของหุ่นยนต์ได้ชัดเจนขึ้น... @^_^@
อยากสร้างหุ่นยนต์ ต้องมีความรู้อะไรบ้าง?
"อยากสร้างหุ่นยนต์ ต้องมีความรู้อะไรบ้าง?" คำถามยอดนิยม ที่มีผู้ถามมากที่สุดหุ่นยนต์... เป็นเทคโนโลยีที่มีการนำเอาองค์ความรู้ จากศาสตร์หลายสาขามาประยุกต์ใช้ หากจะให้กล่าวแบบชี้เฉพาะเจาะจงลงไป ว่าจะต้องมีความรู้ด้านนั้น ด้านนี้ เลยทีเดียว คงจะกล่าวไม่ได้ เพราะหุ่นยนต์บางตัวถูกสร้างขึ้นมา เพื่อวัตถุประสงค์ที่พิเศษ อาจต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง มาคอยให้คำปรึกษา แต่หากจะกล่าวถึงความรู้ในส่วนหลัก ๆ ในการออกแบบสร้างหุ่นยนต์นั้น อาจสามารถแบ่งแยกไปตามส่านประกอบที่สำคัญของหุ่นยนต์ ดังนี้ ( อ้างอิงจากบทความ "
ส่วนประกอบหลัก ของหุ่นยนต์" )
Mechanical part...บุคลากรที่จะรับผิดชอบในส่วนนี้ ควรเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามาถทางด้านฟิสิกส์ เช่น เวคเตอร์, แรง, โมเมนตั้ม ฯลฯ และควรมีความรู้ในเรื่อง ระบบกลไกลต่าง ๆ รู้จักวัสดุ อุปกรณ์ ทางกล ต่าง ๆ เป็นอย่างดี มีความสามารถ ออกแบบระบบทางกลได้ เช่น ระบบส่งถ่ายกำลัง และระบบที่มีการเคลื่อนที่ ทางกายภาพได้ นอกจากนี้ยังต้องสามารถ ใช้งานเครื่องมือต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี เช่น เครื่องตัด, เครื่องเจาะ, เครื่องกลึง ฯลฯ
Electrical Circuit part...บุคลากรที่จะรับผิดชอบในส่วนนี้ ควรเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามาถเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิคส์ ทั้งด้านอะนาล็อก และดิจิตอล จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับวงจรอิเล็กทรอนิคส์ต่าง ๆ และจะต้องสามารถวิเคราห์ และออกแบบวงจรต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นวงจรคอนโทรเลอร์, วงจรเซ็นเซอร์, วงจรขับกำลังสูง ฯลฯ นอกจากนี้ยังต้องสามารถ ใช้งานเครื่องมือต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี เช่น มิเตอร์, ออสซิลโลสโคป, ลอจิกโพร๊ป, ลอจิกอนาไลเซอร์ ฯลฯ
Software Control part...บุคลากรที่จะรับผิดชอบในส่วนนี้ ควรเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามาถทางด้านคณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ จะต้องเป็นผู้ที่มีความคิดอย่างเป็นระบบ สามารถแตกปัญาหาออกเป็นกระบวนการ และควรมีความสามารถในการโปรแกรม ภาษาระดับต่ำเช่นแอสแซมบลี้ ได้เป็นอย่างดี รวมถึงภาษาระดับกลาง และสูง อย่างภาษาซี และภาษาเบสิค ได้ จะต้องมีความชำนาญในการใช้งานคอมพิวเตอร์
จะเห็นว่าการออกแบบสร้างหุ่นยนต์ (อย่างจริงจัง) จะต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญในหลาย ๆ ด้าน เนื่องจากวิศวกรนั้น จะอาศัยการทำงานที่เป็นทีม งานหนึ่ง ๆ จึงประกอบด้วยวิศวกรผู้ชำนาญงานในแต่ละสาขา ที่หลากหลาย แตกต่างกันไป หากจะสังเกตุให้ดี การแข่งขันหุ่นยนต์ต่าง ๆ ที่มีการจัดการแข่งขันขึ้น ก็จะกำหนดให้ในแต่ละทีมนั้น จะต้องประกอบไปด้วยสมาชิกหลายคน (ส่วนใหญ่จะไม่เกิน 3 คน) ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการฝึกให้รู้จักการทำงานกันเป็นทีม และรับผิดชอบงานร่วมกันนั่นเองครับ (จงจำเอาไว้ว่า ไม่มีโครงการดี ๆ โครงการใด ที่จะสำเหร็จได้ด้วยคน เพียงคนเดียว)