วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ฟีโบ้นำทีมศึกษายุทธศาสตร์หุ่นยนต์ไทย

จากกระแสความตื่นตัวในเทคโนโลยีทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ และความสำเร็จของเยาวชนที่ได้รับรางวัลจากการเข้าร่วมแข่งขันประดิษฐ์หุ่นยนต์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้มอบหมายให้สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนามจัดทำร่าง “ยุทธศาสตร์หุ่นยนต์ไทย” เพื่อใช้สำหรับกำหนดทิศทาง เป้าหมาย กลยุทธ์และกิจกรรมต่างๆในการสร้างความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานในด้านวิทยาการหุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติ เพื่อส่งเสริมให้มีศักยภาพทางด้านการวิจัย พัฒนา และประยุกต์ใช้วิทยาการหุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติ ได้อย่างเหมาะสมกับความต้องการของประเทศ ตลอดจนทำให้มีความสามารถทางการแข่งขันทางด้านการวิจัยพัฒนา และประยุกต์ใช้วิทยาการหุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติกับนานาประเทศ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพื่อเพิ่มผลผลิตและเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น โดยเริ่มกิจกรรมนำร่องในระยะเวลา 5 ปีระหว่างปี พ.ศ. 2551 – 2555 คณะนักวิจัยประกอบด้วย
สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีรศ.ดร.สยาม เจริญเสียง ประธานโครงการ รศ.ดร.ชิต เหล่าวัฒนา ที่ปรึกษาโครงการดร.วรพจน์ อังกสิทธิ์ นักวิจัย ดร.อาบทิพย์ ธีรวงศ์กิจ นักวิจัยคุณพีรศิลป์ สันธนะพันธ์ ผู้ช่วยนักวิจัยคุณคมกฤช ทิพย์เกษร ผู้ช่วยนักวิจัยคุณอนุสรา มีชัย ผู้ประสานงานคุณวนิดา อิ่มทอง ผู้ประสานงานคุณณัฏฐา รักการดี ผู้ประสานงาน
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือผศ.ดร.พูลศักดิ์ โกษียาภรณ์ นักวิจัย
งานที่ได้ดำเนินการในส่วนแรกเป็นการศึกษาข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 – ปัจจุบัน เพื่อให้ทราบสถานภาพที่แท้จริงของประเทศเกี่ยวกับวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติด้านต่างๆได้แก่ ด้านการศึกษา เป็นการสำรวจหลักสูตรที่มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ในระดับอาชีวศึกษา และระดับอุดมศึกษา พร้อมจำนวนบุคลากรที่ผลิตได้เพื่อรองรับสายงานทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ด้านการวิจัยและพัฒนา ได้ทำการสำรวจงานวิจัยต่างๆทั้งหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ และส่วนสุดท้ายทางด้านการประยุกต์ใช้งาน การนำหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติไปใช้ทั้งทางอุตสาหกรรม ทางการแพทย์ ทางการทหาร และทางการศึกษา สำหรับการศึกษาทางด้านจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค (SWOT) ทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติของประเทศ รวมทั้งการวางกลยุทธ์ แผนปฏิบัตการ และกิจกรรมเพื่อพัฒนาประเทศทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ จึงได้ดำเนินการจัดประชุมระดมสมองผู้เชี่ยวชาญ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ในส่วนของภาคการศึกษา ภาคอุตสาหรรม และการวิจัย จำนวนทั้งสิ้น 3 ครั้ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น