วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2552

'หุ่นยนต์ในญี่ปุ่น'



ที่ ห้องทดลองวิทยาศาสตร์ของเมจิ ยูนิเวอร์ซิตี้ ประเทศญี่ปุ่น นายจุนอิจิ ทาเคโนะ และเพื่อนนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ กำลังสร้างใบหน้าหุ่นให้แสดงความรู้สึกออกมา 6 อย่าง คือ โกรธ กลัว เศร้า สุข ตกใจและขยะแขยงเมื่อหุ่นยนต์ถูกป้อนข้อมูลของกลุ่มคำ ก็จะแสดงสีหน้าถึงคำนั้นๆ เช่น คำว่า "สงคราม" หุ่นก็จะแสดงสีหน้า "ขยะแขยง" และ "กลัว" เมื่อพูดคำว่า "รัก" หุ่นยนต์ก็จะยิ้มบางๆนายทาเคโนะ กล่าวว่า เมื่อหุ่นยนต์ต้องอาศัยอยู่ร่วมกับมนุษย์ หุ่นยนต์ก็ต้องรู้จักการเข้าสังคม จึงจำเป็นต้องเข้าใจและรู้สึกถึงอารมณ์นั้นแม้ว่าหุ่นยนต์จะยังไม่เข้าถึงอารมณ์ที่มีความซับซ้อน แต่ญี่ปุ่นก็เข้าไปใกล้สังคมแห่งอนาคตที่มนุษย์จะอยู่ร่วมกันกับหุ่นยนต์ เต็มที เช่น ญี่ปุ่นมีหุ่นยนต์ต้อนรับแขกที่มายังบริษัทต่างๆ มีหุ่นยนต์ทำซูชิ หุ่นยนต์ปลูกข้าว หุ่นยนต์ดูแลคนชราแล้วในสังคมของชาวญี่ปุ่น การปฏิรูปหุ่นยนต์นับเป็นสิ่งสำคัญ เพราะมากกว่า 1 ใน 5 ของประชากรเป็นคนชราอายุมากกว่า 65 ปี ญี่ปุ่นจึงเร่งโครงการ "ฮิวแมนนอยด์โรบอต" หรือ "มนุษย์หุ่นยนต์" ออกมาหลายโครงการ การพัฒนาเทคโนโลยีของหุ่นยนต์ทำให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่ โดยเมื่อพ.ศ. 2549 อุตสาหกรรมหุ่นยนต์มีมูลค่า 5,200 ล้านเหรียญ คาดว่าพ.ศ. 2553 จะเพิ่มเป็น 26,000 ล้านเหรียญ และพ.ศ. 2568 จะเป็น 70,000 ล้านเหรียญที่ผ่านมา ชาวญี่ปุ่นจะมีแง่คิดที่ดีต่อหุ่นยนต์ โดยเห็นว่ามันเป็นเพื่อน มากกว่าจะเป็นหุ่นยนต์ที่มีความรุนแรง ออกมาทำลายล้างอย่างที่ชาวตะวันตกนำมาสร้างในหนังไซน์ฟิกชั่น ด้านนายเดเมี่ยน ธง เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ด้านเทคโนโลยี จากธนาคารแม็กไควรี กรุงโตเกียว กล่าวว่า "แม้ชาวญี่ปุ่นยังถามตัวเองว่า ต้องการให้หุ่นยนต์เข้ามาอยู่ร่วมบ้านไหม แต่ก็ต้องไม่ลืมว่า ญี่ปุ่นเป็นประเทศเดียวในโลกที่มีชักโครกไฟฟ้า ซึ่งต่อไปผมเห็นว่า จะต้องมีการปฏิรูปหุ่นยนต์เกิดขึ้นแน่นอน"นอกจากนี้ โรดแม็ปเทคโนโลยีแห่งชาติของกระทรวงพาณิชย์ประจำปี 2550 ยังระบุว่า ภายในพ.ศ. 2568 จะต้องมีหุ่นยนต์ในภาคอุตสาหกรรม 1 ล้านตัว โดยหุ่นยนต์ 1 ตัว สามารถทำงานแทนมนุษย์ได้ 10 คน หุ่นยนต์ 1 ล้านตัวคือคน 10 ล้านคน นับเป็นคนวัยทำงาน 15% ในปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น