วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2552

นิยายหุ่นยนต์

หุ่นยนต์อีกกลุ่ม ที่คนไทยคุ้นเคยก็คือ หุ่นยนต์ในการ์ตูนญี่ปุ่น ที่เริ่มจากหนังสือการ์ตูน แล้วก็กลายไปเป็นหนัง
หุ่นยนต์ญี่ปุ่นที่เคยฮือฮาช่วงแรก ๆ ก็คือ Astro Boy (พ.ศ. 2494) ในชื่อภาษาไทยว่า เจ้าหนูอะตอม เขียนโดย โอซามุ เทซึกะ หุ่นยนต์เด็กในเรื่อง ตอนแรกต้องปกปิดตัวเอง แต่ ด้วยสถานการณ์ ก็ต้องใช้ความสามารถ ปกป้องอันตรายที่จะเกิดกับมนุษย์ เมื่อกลายเป็นหนังก็ ทำออกมาถึง 193 ตอน
การที่หุ่นยนต์ ต้องต่อสู้กับวายร้าย เพื่อปกป้องโลก เป็นแนวเรื่องหลักของการ์ตูนญี่ปุ่น หุ่นยนต์เหล่านั้นเช่น งานของโก นากาอิ เรื่อง Mazinger Z (หุ่นยนต์แซด พ.ศ. 2515) Great Mazinger (เกรทมาชินกา พ.ศ. 2517) Grendizer (เกรนไดเซอร์ พ.ศ. 2518) เมื่อเจ้าชายต่างดาว พลัดถิ่นมา ในหุ่นยนต์จานบิน และต้องสู้กับมนุษย์ต่างดาว หุ่นยนต์พวกนี้ ใช้คนบังคับหนึ่งคนใน ขณะที่การ์ตูนชุด เก็ตเตอร์ ใช้คนบังคับ 3 คน และเปลี่ยนร่างได้
สำหรับ Combata V (คอมแบตตาวี) เป็นต้นแบบของหุ่นยนต์ที่ใช้คน 5 คน ร่วมบังคับ หุ่นยนต์ญี่ปุ่นยุคหลัง ๆ จึงเริ่มมีคนควบคุมเป็นทีม
นิยายวิทยาศาสตร์ของญี่ปุ่น ที่เป็นทั้งนิยาย และการ์ตูน เรื่องที่น่าสนใจเรื่องหนึ่งคือ Ginga Tetsudo 999 หรือ Galaxy Express 999 ฉบับการ์ตูนมี 18 เล่ม จบราว ๆ ต้นทศวรรษ 1980 เขียนโดย เลจิ มัตซึโมโต เนื้อเรื่องกล่าวถึง สังคมที่มนุษย์จะอยู่รอดได้ ต้องดัดแปลงร่างเป็น ไซบอร์ก ทำให้ โฮชิโนะ เทซึรุ เด็กอายุราว 10 ขวบ ต้องโดยสารไปกับ ขบวนรถไฟ 999 เพื่อไป ดัดแปลงร่างที่ดาว แอนโดรมีดา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น