วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2552

หุ่นยนต์ญี่ปุ่น

อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ในประเทศญี่ปุ่นมีความเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา สมัยผมศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยเกียวโต เคยเรียนถามศาสตราจารย์ซูซูกิ ว่าเหตุใดทั้งๆที่มีญี่ปุ่นความเข้มแข็งทางเทคโนโลยีอย่างมาก จึงไม่สร้าง Space Shuttle ไปสำรวจอวกาศแข่งขันกับสหรัฐอเมริกาบ้าง ท่านก็เอ็ดผมทันทีเลยว่าในฐานะวิศวกรนั้นคิดจะทำอะไรนั้นต้องคำนึงผลลัพท์ผลิตภาพทางอุตสาหกรรม(Industrial Productivity)ด้วย ด้วยเหตุนี่กระมังครับ หุ่นยนต์ญี่ปุ่นส่วนใหญ่จึงถูกผลิตออกมาเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการแข่งขันสูงเมื่อเทียบกับประเทศต่างๆทั่วโลกในด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์ขั้นสูงเพื่อใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม ประเทศญี่ปุ่นยังเป็นรองจากประเทศสหรัฐอเมริกาและกลุ่มประเทศทางทวีปยุโรป ในด้านการพัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์เพื่อใช้ในสาขาอื่นๆนอกเหนือจากการใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น การผลิตพลังงานนิวเคลียร์ การวิจัยใต้ทะเล การป้องกันพิบัติภัย และการใช้หุ่นยนต์ช่วยทางการแพทย์ข้อมูลจาก World Technology Evaluation Center, Inc. (WTEC) ระบุว่า บริษัท FANUC เป็นบริษัทผู้นำในการผลิตหุ่นยนต์อุตสาหกรรมในญี่ปุ่น โดยครอง 17% ของตลาดหุ่นยนต์อุตสาหกรรมในประเทศญี่ปุ่น 16% ของตลาดในทวีปยุโรป และ 20% ของตลาดในทวีปอเมริกาเหนือ สำหรับบริษัทที่ผลิตหุ่นยนต์บริการในประเทศญี่ปุ่น ประกอบไปด้วยบริษัท Sony, Fujitsu และ Honda ซึ่งอุตสาหกรรมประเภทนี้มีการขับเคลื่อนโดยความต้องการของตลาดในการใช้หุ่นยนต์เพื่อความบันเทิง หุ่นยนต์เพื่อน และหุ่นยนต์ให้ความช่วยเหลือทั้งนี้ ข้อมูลจาก Japan External Trade Organization (JETRO) ในปี 2006 ยังได้ระบุว่า แนวโน้มตลาดหุ่นยนต์ของญี่ปุ่นที่จะมีการขยายตัวอย่างมาก คือตลาดหุ่นยนต์ที่สามารถช่วยงานคนงานสูงอายุและแม่บ้าน เนื่องจากอัตราการเพิ่มประชากรในประเทศญี่ปุ่นมีแนวโน้มลดลงอย่างรวดเร็ว ในอนาคตจึงคาดว่าจะมีช่วงหนึ่งที่โรงงานต่างๆจะขาดคนทำงาน และหุ่นยนต์ก็เป็นทางออกหนึ่งสำหรับปัญหานี้ นอกจากนี้ทาง JETRO ยังได้ให้ข้อมูลทางสถิติโดยแบ่งหุ่นยนต์เป็นสองประเภทใหญ่ๆคือ Interactive Robots กับ Manufacturing Robots ดังนี้1. Interactive Robotsทางรัฐบาลญี่ปุ่นตระหนักว่า บริษัทญี่ปุ่นจำนวนมากให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีมากกว่าการพัฒนาตลาดหุ่นยนต์ ในปัจจุบันในประเทศญี่ปุ่นมีหุ่นยนต์ที่สามารถโต้ตอบได้ (Interactive Robot) จำนวนมากที่สร้างขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพทางเทคโนโลยีของวิทยาการหุ่นยนต์ที่ล้ำหน้า โดยที่ไม่มีประโยชน์ทางรูปธรรมอย่างอื่นที่ชัดเจน เช่น ASIMO ของฮอนด้า เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น