วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ปลุกภาคการศึกษา ลุ้นเด็กไทยแข่งหุ่นยนต์โลก

.วิทย์ฯ ตระหนักถึงความสำคัญพร้อมทุ่มงบไม่อั้น หวังเด็กไทยโชว์ศักภาพเวทีโลก มั่นใจไม่เป็นรอง ด้านเอ็มเทค กระตุ้นม.ระบุต้องสร้างความเข้าใจให้ตรงกัน คาดอีก 20 ปี ไทยติดท็อปส์ 5 เทคโนโลยีหุ่นยนต์อาเซียน...เพิ่งจะผ่านพ้นไปเมื่อเร็วๆ นี้ กับการแข่งขันออกแบบ และสร้างหุ่นยนต์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 2 หรือ RDC 2009 รอบชิงชนะเลิศ ภายใต้โจทย์การแข่งขัน “ปลูกต้นไม้ สร้างป่าเขียว ลดโลกร้อน” สร้างจิตสำนึกเยาวชนไทยตระหนักถึงผลกระทบของภาวะโลกร้อน โดยทีมที่ชนะเลิศจะได้เป็นตัวแทนประเทศไทย ร่วมโชว์ศักยภาพด้านเทคโนโลยีพร้อมเปิดประสบการณ์ใหม่ๆ บนเวทีระดับนานาชาติ IDC RoBoCon 2009 ที่ประเทศญี่ปุ่นในเดือน ส.ค.2552 ต่อไปคุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า การแข่งขันครั้งนี้ เป็นเวทีในการส่งเสริมผลักดันเยาวชนไทย สู่การพัฒนาบุคลากรด้านการออกแบบหุ่นยนต์ คาดว่าในอนาคตคงมีโอกาสเห็นการออกแบบหุ่นยนต์ในรูปแบบการจัดแสดงคอนเสิร์ต ที่สร้างความสุขให้กับผู้ชมจากฝีมือเยาวชนไทย โดยเชื่อมั่นว่าเยาวชนไทยมีศักยภาพและมีความสามารถ ไม่แพ้ชาติใดๆ ในโลกหากได้รับการสนับสนุนส่งเสริมถูกทิศทางรมว.วิทย์ฯ ระบุต่อว่า กระทรวงวิทย์พร้อมสนับสนุนทั้งด้านงบประมาณ และกำลังใจ ให้ตั้งแต่เด็กทั่วไป ชั้นประถม และมัธยมศึกษา ที่สนใจ โดยบูรณาการผ่านสาขาวิชาการต่างๆ ในการออกแบบและสร้างหุ่นยนต์ อันเป็นแนวทางให้เด็กก้าวสู่วงการสร้างสรรค์ เช่นเดียวกับสนับสนุนงบประมาณครั้งนี้ มูลค่า 1.5 ล้านบาทรศ.ดร.วีระศักดิ์ อุดมกิจเดชา ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ หรือเอ็มเทค กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมของเยาวชนก่อนแข่งขันว่า ด้านภาษาสำคัญที่สุด และวางตัวเป็นธรรมชาติมากที่สุด ส่วนหลักคิดวิทยาศาสตร์ พิสูจน์แล้วว่าทำได้จริง แม้ว่าที่ผ่านมาพบปัญหาจากสถาบันการศึกษา และต้องการให้การประสานงานในมหาวิทยาลัยเกิดความเข้าใจตรงกัน รวมถึงเยาวชนต้องมีความรู้พื้นฐานประกอบ ขณะที่ปี 2552 ได้รับการตอบรับจาก 8 มหาวิทยาลัย จำนวน 48 คน“ต้องการให้ภาคการศึกษาตระหนักถึงความสำคัญเรื่องการส่งเสริมเยาวชนไทยให้มากขึ้น เพราะแต่ละปีที่ส่งเรื่องไปที่มหาวิทยาลัย การตอบรับไม่มากเท่าที่ควร เนื่องจากคนประสานงานไม่เข้าใจ ขณะเดียวกัน เด็กไม่จำเป็นต้องเก่ง เพียงแค่มีพื้นฐานวิชาฟิสิกส์ก็พอ” ผอ.เอ็มเทค กล่าวรศ.ดร.วีระศักดิ์ คาดการณ์ด้วยว่า อีก 20 ปี ข้างหน้าคงหนีไม่พ้นยุคหุ่นยนต์และเทคโนโลยี ขณะเดียวกัน ถ้าไม่สร้างความตระหนัก และไม่กระตุ้นให้เกิดความสนใจ ประเทศไทยก็จะช้ากว่าประเทศอื่นต่อไปอีก ขณะเดียวกัน ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะดึงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีให้คนทั่วไปเข้าใจง่าย เพราะเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องอนาคตที่ต้องลงทุนมาก และปรากฏผลช้า อย่างไรก็ตาม เป็นไปได้สูงว่าหุ่นยนต์ไทยจะติดอันดับ 5 ในอาเซียน เพราะประเทศไทยมีทรัพยากรบุคคล ทรัพยากรธรรมชาติที่มากกว่าคู่แข่งอย่างประเทศสิงคโปร์ แต่จำนวนเงินสนับสนุนน้อยกว่า สำหรับการแข่งขัน 2 ทีมจะเริ่มแข่งพร้อมกันโดยมีเวลาจำกัดที่ 90 วินาที เริ่มต้นแข่งขันทำโดยนำหุ่นยนต์ของแต่ละทีมไปวางไว้ในจุดเริ่มต้นทั้งสองจุด ไม่อนุญาตให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของหุ่นยนต์ล้ำออกนอกเขตเริ่มต้น หุ่นยนต์สามารถออกจากจุดเริ่มต้นทั้งสองได้ก็ต่อเมื่อกรรมการสนามให้สัญญาณอนุญาตเริ่มการแข่งขัน ขณะแข่งขัน ต้องไม่มีสมาชิกทีมคนใดที่สัมผัสตัวหุ่นยนต์ ต้นไม้ทั้งสามแบบสามารถถูกชนโดยหุ่นยนต์ได้ ตราบใดที่ต้นไม้เหล่านั้นยังไม่ถูกนำไปใส่ในพื้นที่ปลูกต้นไม้ นอกจากนี้ห้ามกระทำการจงใจโยนให้ต้นไม้หลุดออกนอกสนาม
ทีมที่ชนะเลิศ คือ ทีมสีน้ำตาล 1.นางสาวศนิ กลิ่นสนิท สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหาร ลาดกระบัง 2.นายสิรวุธ ทัตติยกุลจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย 3.นายพงศกร หาญวารี มหาวิทยาลัยสุรนารี 4.นายอนิรุทธิ์ จิตอนันตพรสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น (TNI) 5.นายพรเทพ ชินศรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือนายพงศกร หาญวารี หรือนิค นิสิตชั้นปีที่ 2 คณะวิศวกรรมศาสตร์สาขายานยนต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี หัวหน้าทีมสีน้ำตาล เล่าถึงการคว้าชัยในครั้งนี้ว่า สิ่งสำคัญที่ทำให้ชนะในการแข่งขันครั้งนี้คือ ความสามัคคี และวางแผนแบ่งหน้าที่ของทุกคนในทีมอย่างชัดเจน “หลังจากที่ทราบกติกา จะร่วมวางแผน โดยใช้หุ่นยนต์ 2 ตัว คือ ตัวเล็กมีหน้าที่เก็บต้นกล้า และนำไปปลูกเพื่อขวางทางคู่แข่ง ส่วนตัวใหญ่จะมีหน้าที่ต่อฐานและนำต้นโพธิ์ไปที่ปลูกที่แท่น หากปลูกได้ก็จะสามารถน้อคเอาท์คู่ต่อสู่ได้ ทั้งนี้ ในการแข่งขันในสนามจริงทุกคนต้องมีความสามัคคี ควบคู่สมาธิที่ดีมากๆ นอกจากนี้ ยังต้องแบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจน และร่วมกันแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอย่างดีที่สุด” นิค กล่าวหัวหน้าทีมสีน้ำตาล เล่าต่อว่า กว่า 1 เดือนที่ต่างสถาบันทำงานร่วมกัน ได้รับประสบการณ์ที่ดีมาก ขณะเดียวกัน ก็เจอปัญหาตลอดเวลาตั้งแต่การเริ่มทำหุ่นยนต์ที่ไม่สามารถใช้งานได้ แต่ร่วมกันแก้ไขจนสำเร็จก่อนการแข่งขันเพียง 1 วันเท่านั้น หลังจากแข่งขันในรอบแรกก็ต้องแก้ไขหุ่นยนต์กันเป็นระยะ อีกทั้ง ต้องใช้ความอดทน ตั้งใจ และแก้ไขปัญหา จนประสบความสำเร็จ นับเป็นชัยชนะที่ทุกคนภูมิใจมากแม้ว่าวันนี้ ประเทศไทยจะตามหลังบางประเทศในด้านเทคโนโลยีอยู่บ้าง แต่เทคโนโลยีคงไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป และคงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าไร้ความสำคัญ เพราะทุกคนเห็นแล้วว่าศักยภาพของทรัพยากรธรรมชาติ และทรัพยากรบุคคลประเทศไทยพร้อมจะประกาศให้โลกรับรู้ ไม่แน่ว่าในอนาคตอันใกล้นี้ อาจจะได้เห็นหุ่นยนต์ไทย ติดอันดับ 1 อาเซียน ก็เป็นได้ ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีทางเลือกอยู่ 2 ทาง คือ ขวนขวายพัฒนาให้ทันโลกดิจิตอล หรือย่ำอยู่กับที่เป็นเต่าล้านปี...


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น