วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ฝันของหุ่นยนต์ สัญชาติไทย

วันนี้เรามีหุ่นยนต์เสมือนมนุษย์ ( humanoid) อย่าง "อาซิโม" มาเดินเล่น เต้นรำ หรือแม้กระทั่งจับมือกับมนุษย์ได้ บริษัทใหญ่ระดับโลกอย่าง siemens ก็ได้ผลิตหุ่นยนต์ทำความสะอาดบ้าน วางจำหน่ายตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ยังไม่นับหุ่นยนต์หมา หุ่นยนต์แมว ซึ่งมีปฎิกิริยาตอบสนองใกล้เคียงกับสัตว์เลี้ยงที่มีชีวิต และกลายเป็นของเล่นยอดฮิตของคนมีเงินทั่วโลก ทั้งหมดนี้เป็นผลเนื่องมาจากวิวัฒนาการของการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี และในปัจจุบันประเทศไทยของเราเองก็กำลังพัฒนาและคิดประดิษฐ์ คิดค้นสินค้าเทคโนโลยี นวัตกรรมใหม่ๆขึ้นมา โดยเฉพาะขณะนี้ในส่วนของเรื่องหุ่นยนต์ของไทยเองก็เป็นเรื่องที่น่าจับตามองเช่นกันหุ่นยนต์กับคนไทยแม้ว่าวิทยาการด้านหุ่นยนต์ ( Robotics) ของไทย อาจจะยังไม่อาจเทียบได้กับผู้นำเทคโนโลยีอย่างญี่ปุ่นแต่ เชื่อหรือไม่ว่า เรามีหน่วยงานที่ทำวิจัยและสามารถผลิตหุ่นยนต์ เพื่อการใช้งานในประเทศได้เอง มานานหลายปีแล้ว เพียงแต่อยู่ในรูปของหุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรมมากกว่ารูปแบบอื่น ซึ่งในขณะนี้หน่วยงานดังกล่าวก็ยังคงทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านหุ่นยนต์ โดยมีเป้าหมายคือ ต้องสามารถใช้งานได้จริงโดยไม่ต้องไปพึ่งสินค้าราคาแพงของต่างประเทศ"ฟีโบ้" (FIBO) หรือสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม ( A Cradle of Future Leaders in Robotics ) จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2538 ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการศึกษาระดับสูง และการวิจัยทางด้านระบบอัตโนมัติ รวมถึงหุ่นยนต์อุตสาหกรรม และรวมถึงการให้บริการที่ปรึกษากับอุตสาหกรรมต่างๆในประเทศ เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยน และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยพระเจ้าเกล้าธนบุรี บางมดนอกจากการทำงานวิจัย และให้บริการทางวิชาการแล้ว ฟีโบ้ยังได้จัดกิจกรรม เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์อีกหลายอย่าง เช่นการแข่งขันหุ่นยนต์ FRIT การแข่งขันหุ่นยนต์ FORD การแข่งขันพัฒนาโปรแกรมสำหรับหุ่นยนต์ Partner Robot Contest ฯลฯสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ ได้เปิดให้การศึกษาในระดับมหาบัณฑิต หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต 2 สาขา คือ สาขาวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (Graduate Program in Robotics and Automation ) จะเน้นทางด้านวิทยาศาสตร์ และวิศกรรมอย่างเข้มข้น เพื่อให้ผู้เรียนสามารถสร้าง " หุ่นยนต์ " หรือเทคโนโลยีใหม่ได้ และสาขาการพัฒนาความสามารถทางการแข่งขันเชิงอุตสาหกรรม (Graduate Program in Development of Industrial Competitiveness ) จะเน้นเกี่ยวกับการจัดการทางด้านเทคโนโลยี ทำอย่างไรจึงจะนำเทคโนโลยีที่สร้างขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้ส่วนผู้เรียนนั้นจะต้องมีพื้นฐานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ หรือ วิทยาศาสตร์ หรือ เทียบเท่า ต้องมีความสนใจ มีความมุ่งมั่นตั้งใจจริง เนื่องจากโรโบติกส์เป็นศาสตร์ที่ค่อนข้างจะหลากหลายพอสมควร การใช้ความรู้หลายๆด้านมาประยุกต์เข้าด้วยกันเป็นสิ่งที่สามารถพัฒนาวิทยาการด้านหุ่นยนต์ ให้แตกแขนงออกไปได้อีกมากมายสร้างหุ่นยนต์ทำไมการสร้างหุ่นยนต์ คนส่วนใหญ่มักจะถามว่า สร้างขึ้นแล้วจะเอาไปทำอะไร หือมองว่าจะเอาไปใช้งานได้จริงๆ เท่านั้นจึงจะได้เงิน แต่ในแง่ของการวิจัยแล้ว จะทำให้เกิดองค์ความรู้ เพื่อจะนำไปประยุกต์ใช้ในระบบอื่นๆ ต่อไปได้ เช่น หุ่นยนต์ปลาที่สร้างขึ้นมาเพื่อศึกษาความเคลื่อนที่ของปลา และอาจจะนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาสร้างพาหนะที่ใช้ใต้น้ำได้ต่อไปการสนับสนุนของภาครัฐและเอกชนการประดิษฐ์หุ่นยนต์ จำเป็นต้องได้รับเงินสนับสนุนซึ่งจากภาคเอกชนมักจะให้ทุนวิจัยเป็นชิ้นๆ เช่น การออกแบบระบบเชื่อมอัตโนมัติอย่างไร หรือจะสร้างหุ่นยนต์ในโรงงานอย่างไรส่วนทางภาครัฐนั้น จะขอทุนจากหน่วยงาน เช่น NECTEC MTEC หรือทุนจากทางมหาวิทยาลัย แต่ก็จำเป็นจะต้องได้รับการสนับสนุนที่มากขึ้น อย่างไรก็ตาม เท่าที่ผ่านมามีแนวโน้มที่ดีจากความสนใจ และความร่วมมือจากหลายมหาวิทยาลัย หลายหน่วยงาน รวมทั้งขณะนี้ ก็ได้มี " สมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย " ขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าระบบอัตโนมัติ หรือหุ่นยนต์นั้นเริ่มมีความจำเป็นมากขึ้นในสังคมเรา
ความฝันของหุ่นยนต์สัญชาติ "ไทย"หลายปีที่ผ่านมา " การแข่งขันหุ่นยนต์ " มักจะเป็นข่าวที่ได้รับรู้กันในวงกว้างอยู่เสมอ อันเป็นก้าวหนึ่ง ที่ทำให้เกิดการตื่นตัวในการสนใจต่อการพัฒนาวิทยาการหุ่นยนต์ในระดับต่างๆของสังคม แม้ว่าความสามารถของเราจะยังไม่อาจเทียบได้กับต่างประเทศ ทว่าสิ่งเหล่านั้น ก็ได้แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการไปตามลำดับขั้นปัจจัยสำคัญอัน ได้แก่ ความเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศ มีส่วนสำคัญที่ทำให้องค์ความรู้ทางด้านนี้ ก้าวไปได้เร็วและไกล เพียงแต่สังคมไทยในวงกว้าง อาจจะไม่ได้รับรู้มากนักในขณะนี้ได้มีสามาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทยเป็นศูนย์รวมนักวิจัยจากหลายสถาบัน รวมทั้งในอนาคตอันใกล้ ยังคงมีแผนที่จะสร้างโครงการร่วมกัน หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนน่าจะหันมามองระบบหุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติมากขึ้น ส่วนปัญหาของการสร้างหุ่นยนต์ของไทยคือการ "ขาดความเชื่อมั่น" ต่อฝีมือคนไทยด้วยกันเองหากย้อนมองไปถึงวัยเด็ก ภาพของหุ่นยนต์ผู้พิทักษ์โลก หรือหุ่นยนต์ที่เป็นมิตรคอยช่วยเหลือมนุษย์ น่าจะยังไม่จางไปจากความทรงจำของเรา หลายคนอาจเคยฝันว่าจะเป็นนักสร้างหุ่นยนต์ เป็นนักวิทยาศาสตร์ และนักประดิษฐ์ทีสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อโลกและมวลมนุษย์ แต่จะมีสักกี่คน ที่ยังคงมุ่งมั่นทำตามความฝันของตัวเอง และจะมีสักกี่คนที่เข้าใจในความฝันที่คนทั่วไปมองว่าเพ้อเจ้อและไกลเกินจริงนี้ หากยังมีคนที่มุ่งมั่นที่จะสร้าง หากยังมีคนที่เห็นความสำคัญ และให้การสนับสนุน "หุ่นยนต์ไทยแท้ 100%" จะไม่เป็นสิ่งที่ไกลเกินฝันอีกต่อไป


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น