วันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ประวัติหุ่นยนต์

ปี 1921 นักประพันธ์ชาวเชกส์ Karel Acpek ได้ทำละครล้อเลียน โดยมีคำว่า Robot หรือคำว่า Robota ซึ่งแปลว่า ทาส หรือผู้ใช้แรงงาน Robot ในความหมายของCapek หมายถึง หุ่นยนต์ที่มีลักษณะเหมือนมนุษย์ มีแขน มีขา สามารถทำงานได้มากกว่ามนุษย์ 2 เท่า มีพลังมากกว่ามนุษย์ 2 เท่า
ให้หลังจากนั้น 21 ปี ก็มีนักประพันธ์ทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ชื่อ Isaac Asimov เป็นคนที่สร้างแรงดึงดูดให้กับเด็กรุ่นต่อมาสนใจเรื่องหุ่นยนต์ อย่างมาก ในบทประพันธ์เรื่อง (Runaround)

ซึ่งได้บัญญัติกฎ 3 ข้อของหุ่นยนต์ คือ

1.หุ่นยนต์ห้ามทำร้ายมนุษย์

2.หุ่นยนต์ต้องเชื่อฟังมนุษย์

3.หุ่นยนต์ต้องป้องกันตัวเอง

ซึ่งในความเป็นจริงในยุคสมัยนั้นยังไม่มีหุ่นยนต์จริง เป็นเพียงแค่จินตนาการ และความช่างฝันเท่านั้น


10 ปีต่อมาในปี 1952 การ์ตูนเรื่อง Astro Boy ในประเทศญี่ปุ่น เป็นการ์ตูน ที่คงอยู่ในความทรงจำของคนหลายคน และด้วยหุ่นยนต์ตัวเอกชื่อ Tetsuwan Atom หุ่นยนต์ที่สามารถบินได้ โดยเวลาบินจะมีไฟ่พ่นออกมาจากเท้า การ์ตูนเรื่องนี้ถือว่าทรงอิทธิพลอย่างมากต่อการพัฒนาการสร้างหุ่นยนต์ขึ้นมา เช่นเดียวกับตัวหุ่นยนต์ R2D2 เป็นหุ่นยนต์กระป๋อง และหุ่นยนต์ C3po ในภาพยนต์เรื่อง Star Wars ที่ทำให้ภาพของหุ่นยนต์อยู่ในความนึกฝันและจินตนาการของใครหลาย คน




และแล้ว หุ่นยนต์ตัวแรกของโลก ก็เกิดขึ้นเมื่อปี 1954 โดย George Devol วิศวกร ชาวสหรัฐอเมริกา ที่สามารถค้นคิดประดิษฐ์แขนของหุ่นยนต์ อย่างง่ายที่สามารถเคลื่อนไหว ทำงานตามโปรแกรมที่ตั้งไว้ใช้ประโยชน์ในงานอุตสาหกรรม จากจุดนี้เองที่ทำให้การพัฒนาหุ่นยนต์เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง




ในระยะเวลากว่ากึ่งศตวรรษจนมาถึงวันนี้มีหลายประเทศ ที่เป็นประเทศมหาอำนาจทางด้านเทคโนโลยีการผลิตหุ่นยนต์
สหรัฐอเมริกา หนึ่งในมหาอำนาจของโลก ในเรื่องของวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีถือเป็นต้นกำเนิดของหุ่นยนต์บนโลก มีความหลากหลายของหุ่นยนต์ เน้นในการที่จะนำไปใช้งานได้จริง อย่างในปี 1959 บริษัท Planet Corporation ได้สร้างหุ่นยนต์ที่เป็น First Commercial Robot ขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ทางงานด้านอุตสาหกรรมตามมาติดๆ ในปี 1962 ด้วยบริษัทยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตรถยนต์อย่าง GM general motor ก็ใช้หุ่นยนต์ แต่ที่สร้างชื่อเสียงมากที่สุด ก็คงเป็นหุ่นยนต์ขององค์การ NASA ที่ไปสำรวจดาวอังคาร ที่ชื่อ Mars Sojourner เป็นหุ่นยนต์ที่สิ่งไปสำรวจดาวอังคาร ในปี 1997 และหุ่นยนต์ Spirit กับ Opportunity ที่ถูกส่งตามไปสำรวจดาวอังคารเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าเป็นสุดยอดของเทคโนโลยีในโลกของหุ่นยนต์เลยทีเดียว
หรือแม้แต่เยอรมัน เป็นประเทศที่มีขีดความสามารถทางด้านอุตสาหกรรมสูง ดังนั้นการผลิตหุ่นยนต์ของประเทศเยอรมัน จึงเน้นไปในเรื่องของหุ่นยนต์เพื่อการผลิต โดยลักษณะของหุ่นยนต์เป็นหุ่นยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรม โครงสร้างจะเป็นลักษณะของแขนหุ่นยนต์ในโรงงานประกอบรถยนต์ ซึ่งในประเทศเยอรมนี มีบริษัทผู้ผลิตหุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรมที่มีชื่อเสียงในโลกอยู ่หลายแห่ง เช่น บริษัท KUKA และ บริษัท ABB ดังนั้นจึงไม่สงสัยเลยว่าทำไมประเทศเยอรมัน ถึงมีความเป็นมหาอำนาจในการผลิตรถยนต์ที่โด่งดังของโลก หรือแม้แต่งานที่เกี่ยวกับการผลิตเครื่องจักรกล ซึ่งมีความทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งของโลก




ด้านเอเชีย ญี่ปุ่น เป็นประเทศที่เกิดการพัฒนาทางด้านการผลิตหุ่นยนต์ จากจินตนาการที่ได้รับอิทธิพลมาจากการ์ตูน ลักษณะของหุ่นยนต์หลายตัวจึงเป็นลักษณะ Humanoid หรือหุ่นยนต์ที่มีลักษณะทางกายภาพเหมือนคน ลักษณะของหุ่นยนต์ที่สร้างขึ้นมาอาจจะไม่ได้นำไปใช้งานแต่การเป็นการคิดเพื่ออนาคตมีลักษณะเหมือนคนมากที่สุด ทั้งในเรื่องของการเคลื่อนไหวที่สมบูรณ์แบบ ซึ่งต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูง และยังมีหุ่นยนต์ที่โดดเด่นอย่าง AIBO หุ่นยนต์สุนัข ที่สามารถโต้ตอบกับคนได้ ซึ่งมีการนำ AIBO มาใช้ในห้องทดลองวิจัยหลายมหาวิทยาลัยด้วยกัน สามารถติดต่อสื่อสารผ่านคลื่นอินฟราเรดได้ ซึ่งในอนาคตจะมีการพัฒนาไปสู่หุ่นยนต์บริการในบ้าน และยังมีหุ่นยนต์ในลักษณะ Humanoid อีกตัว SDR-4X, หุ่นยนต์ R100 ที่กำลังพัฒนาให้เป็นหุ่นยนต์บริการที่ใช้ในบ้าน และสามารถพูดคุยโต้ตอบกันได้ เป็นไปในรูปแบบของ Partner Robot




มองย้อนมาที่บ้านของเรากันบ้าง ในขณะที่ทั่วโลกต่างพากันพัฒนาเทคโนโลยีการสร้างหุ่นยนต์ ในประเทศไทยเราเอง ก็ได้ตามเกาะติดแวดวงเทคโนโลยีการผลิตหุ่นยนต์กับนานาชาติเช่นเ ดียวกัน โดยเฉพาะการแข่งขันหุ่นยนต์ในบ้านเราที่ผ่านมามักเน้นไปในลักษณะ Edutainment คือเป็นความสนุกควบคู่ไปกับการเรียนรู้ ในเกมการแข่งขันมากกว่า ซึ่งก็สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยในเวทีระดับโลกไม่น้อยเลย และที่น่าสนใจตอนนี้มีโครงการการแข่งขันประกวดหุ่นยนต์กู้ภัย ในระดับนักศึกษา ในโครงการ Thailand Rescue Robot Championship 2004 ซึ่งถือว่าเป็นรายการแรกของประเทศไทย ที่มีการแข่งขันการสร้างหุ่นยนต์กู้ภัย เพื่อช่วยในการทำงานของเจ้าหน้าที่ ในการเข้าไปปฏิบัติงานในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงอันตราย เช่น เหตุเพลิงไหม้, ตึกถล่ม หรือภัยจากเหตุวินาศกรรม




นับว่าเป็นโครงการที่สร้างประโยชน์ต่อสังคม และน่าติดตามเป็นอย่างยิ่งถึงความสามารถของเด็กไทยกับการพัฒนาค วามสามารถทางด้านเทคโนโลยีไปสู่ระดับโลก ซึ่งแม่งานใหญ่ในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจาก สมาคมวิชาชีพหุ่นยนต์ไทย ร่วมกับ เครือซิเมนต์ไทย ส่งเสริมกิจกรรมที่ดีมีคุณค่าให้เกิดขึ้น ที่สำคัญยังเป็นการส่งเสริมเยาวชนไทยได้คิดเป็น และสร้างสรรค์ผลงานที่ดีเพื่อโลกในอนาคต อีกทางหนึ่ง




อ้างอิงจาก http://www.eng.ubu.ac.th/~ubuinven/histro1.htm


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น